الزكاة
ซะกาต
คำนิยาม
ความหมายทางด้านภาษา
หมายถึง การเพิ่มพูน และเจริญงอกงาม
ความหมายด้านศาสนา
หมายถึง
พิกัดของทรัพย์สินบางประเภทที่จำเป็นต้องจ่ายแก่บุคคลบางจำพวกเมื่อครบเงื่อนไข
ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายทางภาษาและทางวิชาการคือ
การจ่ายซะกาต ถึงแม้โดยผิวเผินจะทำให้ทรัพย์สินลดลง แต่แท้จริงแล้ว ผลจากการจ่ายซะกาตทำให้ทรัพย์สินเพิ่มพูนขึ้น
เพิ่มในแง่ของการมีความจำเริญและยังเพิ่มจำนวนอีกด้วย
เพราะอัลลอฮฺจะทรงเปิดประตูริซกีให้แก่บ่าวโดยที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน
หากเขาได้ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์เกี่ยวกับทรัพย์สิน
พระองค์ตรัสว่า
وَمَآ ءَاتَيۡتُم مِّن رِّبٗا لِّيَرۡبُوَاْ فِيٓ أَمۡوَٰلِ ٱلنَّاسِ فَلَا يَرۡبُواْ عِندَ ٱللَّهِۖ وَمَآ ءَاتَيۡتُم مِّن زَكَوٰةٖ تُرِيدُونَ وَجۡهَ ٱللَّهِ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُضۡعِفُونَ
“และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน
(ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูน ณ อัลลอฮฺ
และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายไปจากซะกาตใดๆ โดยพวกเจ้าปรารถนาพระพักตร์ของอัลลอฮฺ(มุ่งหมายที่จะได้รับความโปรดปรานจากพระองค์)
ชนเหล่านั้นแหละ คือผู้ได้รับผลตอบแทนอย่างทวีคูณ”
[อัร-รูม, 30 : 39]
พระองค์ตรัสอีกว่า
﴿ قُلۡ إِنَّ رَبِّي يَبۡسُطُ ٱلرِّزۡقَ لِمَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦ وَيَقۡدِرُ لَهُۥۚ وَمَآ أَنفَقۡتُم مِّن شَيۡءٖ فَهُوَ يُخۡلِفُهُۥۖ وَهُوَ خَيۡرُ ٱلرَّٰزِقِينَ ﴾ [سبأ: ٣٩]
“และอันใดที่พวกเจ้าบริจาคจากสิ่งใดก็ดี
พระองค์จะทรงตอบแทนมัน และพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้ดีเลิศแห่งบรรดาผู้ประทานปัจจัยยังชีพ”
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا
نَقَصَتْ
صَدَقَةٌ
مِنْ
مَالٍ»
“การบริจาคมิได้ทำให้ทรัพย์สินลดน้อยลงเลย”
[บันทึกโดยมุสลิม,
เลขที่ 2588]
ประวัติการบัญญัติเรื่องซากาต
การบัญญัติเรื่องซากาต
เกิดขึ้นในปีฮิจเราะห์ที่สองก่อนบัญญัติการถือศิลอดในเดือนรอมฏอน
ข้อกำหนดและหลักฐานเรื่องซากาต
ตามที่รู้กันแล้วว่า ซากาตนั้นเป็นหนึ่งในรุกุ่นอิสลามที่มีความสำคัญ
มีหลักฐานเด็ดขาดมากมายที่บ่งชี้และยืนยันว่าซากาตนั้นเป็นข้อกำหนดทางศาสนาที่ชัดเจน
เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปถึงขั้นที่ผู้ใดปฏิเสธก็จะต้องสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม
หลักฐานจากอัลกุรอ่าน
وَأَقِيمُوا
الصَّلَاةَ وَآتُوا الزَّكَاةَ وَارْكَعُوا مَعَ الرَّاكِعِينَ
“พวกท่านทั้งหลายจงดำรงละหมาดและจงจ่ายซากาต”
อัลบากอเราะห์ 43
มีรายงานจากท่านอิบนุ
อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ
วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ الإِسْلَامَ بُنِيَ عَلَى خَمْسٍ
شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَإِقَامِ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءِ
الزَّكَاةِ وَصِيَامِ رَمَضَانَ وَحَجِّ البَيْتِ». متفق عليه.
“แท้จริง อิสลามได้ถูกสร้างไว้บนหลักห้าประการคือ
การกล่าวคำปฏิญาณว่าแท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ การดำรงละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและการทำฮัจญ์ ณ
บัยติลลาฮฺ”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 8 และมุสลิม หมายเลข 16 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
เคล็ดลับหรือประโยชน์ของซากาต
สามารถสรุปได้ว่าเคล็ดลับและประโยชน์ของซากาตนั้น
จะสะท้อนกลับสู่ผู้ที่ให้และผู้รับ
และจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับส่วนบุคคลและส่วนรวม ดังต่อไปนี้
1.
จะทำให้ผู้จ่ายเคยชินกับความเสียสละและบริจาค
และช่วยขจัดความตระหนี่ไปจากจิตใจของเขา
2.
ทำให้สายสัมพันธ์แห่งความเป็นพี่น้องและความรักระหว่างผู้ให้กับผู้รับมั่นคง
แน่นเหนียว
3.
จะช่วยให้สมาชิกในสังคมสามารถพึ่งตนเองได้ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นอันจะนำไปสู่ความแตกต่างกันทางสังคมหรือทำให้เกิดความยากจน
ขัดสนขึ้นในสังคม
4.
จะช่วยขจัดปัจจัยและสาเหตุของการว่างงานให้หมดไป
เนื่องจากคนจนจะได้รับซากาตไปเป็นทุนเพื่อดำเนินกิจการที่เหมาะสมกับความสามารถของตน
5.
ซากาตจะช่วยชำระจิตใจให้สะอาด จากความอาฆาตมาดร้าย
และความอิจฉาริษยา
خُذْ
مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَتُزَكِّيهِم بِهَا وَصَلِّ عَلَيْهِمْ
“ท่านจงเก็บเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สินของพวกเขาเป็นซากาต
ซึ่งมันจะชำระพวกเขาให้สะอาด และท่านจะใช้มันขัดเกลาพวกเขาให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง”
อุตเตาบะห์ 103
ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่ไม่จ่ายซากาต
ก.
ข้อกำหนดผู้ไม่จ่ายซากาตพร้อมทั้งปฏิเสธซากาตว่าเป็นวายิบ
ผู้นั้นจะมีสภาพพ้นจากการเป็นมุสลิม และโทษของเขาคือประหารชีวิต
ถ้าหากเขาไม่สำนึกผิดและกลับตัว
أَلِيمٍوَالَّذِينَ يَكْنِزُونَ الذَّهَبَ وَالْفِضَّةَ وَلَا
يُنفِقُونَهَا فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَبَشِّرْهُم بِعَذَابٍ
يَوْمَ يُحْمَىٰ
عَلَيْهَا فِي نَارِ جَهَنَّمَ فَتُكْوَىٰ بِهَا جِبَاهُهُمْ وَجُنُوبُهُمْ
وَظُهُورُهُمْ هَٰذَا مَا كَنَزْتُمْ لِأَنفُسِكُمْ فَذُوقُوا مَا كُنتُمْ
تَكْنِزُونَ
“และบรรดาผู้สะสมทองคำและเงิน
โดยไม่ยอมจ่ายไปในวิถีทองของอัลลอฮ์
จงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาเถิดว่าจะได้รับการลงโทษที่เจ็บปวดในวันที่มันจะถูกเผาในไฟนรกยะฮันนัม
แล้วนำมันไปนาบหน้าผาก สีข้าง และหลังของพวกเขา
นี่คือสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง
ดังนั้นพวกเจ้าจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้เถิด” ซูเราะห์เตาบะห์ 34-35
ข.
ข้อกำหนดสำหรับผู้ไม่จ่ายซากาตเพราะความตระหนี่ถี่เหนียว
บุคคลประเภทนี้ถือว่าเป็นคนชั่ว มีบาป และจะได้รับโทษร้ายแรงในวันอาคีเราะห์
แต่จะไม่ถึงขั้นตกศาสนา เนื่องจากยังมีความศรัทธาว่าการจ่ายซากาตนั้นเป็นวายิบ
وَلَا يَحْسَبَنَّ الَّذِينَ
يَبْخَلُونَ بِمَا آتَاهُمُ اللَّـهُ مِن فَضْلِهِ هُوَ خَيْرًا لَّهُم ۖ بَلْ
هُوَ شَرٌّ لَّهُمْ ۖ سَيُطَوَّقُونَ مَا بَخِلُوا بِهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ۗ
وَلِلَّـهِ مِيرَاثُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ ۗ وَاللَّـهُ بِمَا تَعْمَلُونَ
خَبِير
“และบรรดาผู้ที่ตระหนี่ในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานให้แก่พวกเขา
จากความกรุณาของพระองค์นั้น จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่ามันเป็นการดีแก่พวกเขา
หากแต่มันเป็นความชั่วแก่พวกเขา
ซึ่งพวกเขาจะถูกคล้องสิ่งที่พวกเขาได้ตระหนี่มันไว้ในวัน กิยามะฮฺ
และสำหรับอัลลอฮฺนั้น คือมรดกแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน
และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน” อาลาอิมรอน
180
เงื่อนไขที่จำเป็นต้องจ่ายซากาต
1.
อิสลาม
2.
ครองครองทรัพย์สินครบพิกัด
3.
ครอบครองทรัพย์สินครบพิกัดครอบรอบปี
(จันทรคติ) ดังนั้นทรัพย์สินที่ครอบครองไว้ไม่ถึงหนึ่งปี
จึงไม่จำเป็นตัองจ่ายซากาต
เงื่อนไขนี้ยกเว้นในธัญพืช ผลไม้ (อินทผาลัม, องุ่น)
และทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้ สิ่งที่กล่าวมานี้จำเป็นต้องจ่ายทันทีที่เก็บมา
หรือทันทีที่ได้มา ดดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องครอบครองครบหนึ่งปี
ผู้มีสิทธิ์ในการรับซากาต
إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِلْفُقَرَاء وَالْمَسَاكِينِ
وَالْعَامِلِينَ عَلَيْهَا وَالْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي الرِّقَابِ
وَالْغَارِمِينَ وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ فَرِيضَةً مِّنَ
اللَّهِ وَاللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ
“ซากาตนั้นจะต้องตกเป็นของคนยากไร้ คนขัดสน เจ้าหน้าที่ซากาต
ผู้ที่ศรัทธาใหม่ ในเรื่องไถ่ตัวทาส คนที่มีหน้าสิน ในวิถีทางของอัลลอฮ์
และคนเดินทาง เป็นข้อกำหนดจากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ยิ่ง ทรงเชี่ยวชาญยิ่ง”
จากความหมายอัลกุรอ่านสามารถจำแนกผู้ที่มีสิทธิ์รับซากาตได้เป็น
8 จำพวก ได้แก่
1.
คนยากไร้ คือ คนที่มีทรัพย์สินไม่พอเป็นค่าอาหาร
ค่านุ่งห่มและค่าที่พัก เช่น ต้องใช้วันละ 100 แต่หาได้เพียงวันละ 30 บาท เป็นต้น
2.
คนขัดสน คือ คนที่มีรายรับไม่พอรายจ่าย เช่น ต้องการใช้วันละ
100 แต่หาได้เพียง 80 บาท เป็นต้น
3.
เจ้าหน้าที่รับซากาต คือคนงาน เจ้าหน้าที่ และคนเก็บซากาต
ซึ่งอีหม่ามต้องอาศัยพวกเขาในการจัดเก็บ รวบรวมและแจกจ่าย
4.
ผู้ที่ศรัทธาใหม่ คือ ผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม
และการจ่ายซากาตให้เขาจะทำให้ศรัทธาของเขามั่นคงขึ้น
5.
ในการไถ่ตัวทาส คือ ทาสที่ทำสัญญาไถ่ถอนตนเองจากการเป็นทาส
โดยหาเงินมาจ่ายให้นายเป็นงวด เมื่อจ่ายเงินได้ครบก็จะเป็นอิสระ
6.
คนมีหนี้สิน คือ คนที่มีหนี้สินมากไม่สามารถชดใช้ได้
ดังนั้นให้จ่ายซากาตแก่คนมีหนี้สินให้พอชดใช้หนี้สินที่ถึงกำหนดต้องชำระ
โดยมีเงื่อนไขว่าหนี้ที่เป็นอยู่นั้นจะต้องไม่ใช่เรื่องที่ขัดต่อบัญญัติอิสลาม
7.
ในวิถีทางของอัลลอฮ์ คือ นักรบอาสาสมัคร ในสงครามปกป้องศาสนา
โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือเงินเดือน
8.
คนเดินทาง
คือคนเดินทางที่การเดินทางของเขามีวัตถุประสงค์ไม่ผิดหลักศาสนา
**สุนัตให้ภรรยาจ่ายซากาตของตนให้กับสามีถ้าหากสามีเป็นคนยากไร้หรือขัดสน
และสมควรที่ภรรยาจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรด้วยเช่นกัน ถ้าหากบุตรขัดสนหรือยากจน
พิกัดของซากาต
พิกัดของซากต คือ อัตราขั้นต่ำของทรัพย์สินที่เมื่อครอบครองไว้
จำเป็นต้องจ่ายซากาต และถ้าหากครอบครองไว้ไม่ถึอัตราขั้นต่ำที่ศาสนากำหนด
ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย ทรัพย์สินที่จำเป็นต้องจ่ายซากาตแต่ละชนิดมีพิกัดแตกต่างกัน
ดังต่อไปนี้
1.
พิกัดของทองคำและเงิน : จำเป็นต้องจ่ายซะกาตทองคำและเงินบริสุทธิ์
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเหรียญ แท่ง
เครื่องประดับ หรือเป็นก้อน เมื่อมีจำนวนครบพิกัดและครบรอบปี
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
وَالَّذِينَ يَكْنِزُونَ الذَّهَبَ وَالْفِضَّةَ وَلَا
يُنفِقُونَهَا فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَبَشِّرْهُم بِعَذَابٍ أَلِيمٍ
يَوْمَ يُحْمَىٰ
عَلَيْهَا فِي نَارِ جَهَنَّمَ فَتُكْوَىٰ بِهَا جِبَاهُهُمْ وَجُنُوبُهُمْ
وَظُهُورُهُمْ هَٰذَا مَا كَنَزْتُمْ لِأَنفُسِكُمْ فَذُوقُوا مَا كُنتُمْ
تَكْنِزُونَ
ความว่า
“และบรรดาผู้ที่สะสมทองและเงิน และไม่จ่ายมันในทางของอัลลอฮฺนั้น
จงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาเถิดด้วยการลงโทษอันเจ็บปวด วันที่มันจะถูกเผาไฟนรกแห่งญะฮันนัม
แล้วหน้าผากของพวกเขาและสีข้างของพวกเขา และหลังของพวกเขาจะถูกนาบด้วยมัน นี่แหละคือสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เถิด” (อัต-เตาบะฮฺ 34-35)
ฮะดิษอะบูดาวูด ได้รายงานจาก อะลี บุตร อะบีตอลิบ (ร.ด.)
จากท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
“เมื่อท่านครอบครอง (โลหะเงิน) จำนวน 200 ดิรฺฮัม และครบรอบปี ในจำนวน (โลหะเงิน) นั้น จะต้องจ่าย (ซะกาต) 5
ดิรฺฮัม, และไม่ต้องจ่ายสิ่งใด (หมายถึงไม่ต้องจ่ายซะกาตทองคำ) จนกว่าท่านจะครอบครองทองคำจำนวน
20 ดีนารฺ ซึ่งหากท่านครอบครองทองคำ 20 ดีนารฺ พร้อมกับครบรอบปี เช่นนี้จะต้องจ่าย (ซะกาต) ครึ่งดีนารฺ
และหากมีจำนวนมากกว่านั้นก็ให้คำนวณตามจำนวน (ที่เพิ่ม) นั้น” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 1575 หะดิษเศาะเฮียะฮฺ)จากอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
لَيْسَ فِيمَا دُونَ خَمْسِ أَوَاقٍ صَدَقَةٌ
ความว่า “ทรัพย์สินที่ไม่ครบห้าเอากิยะฮฺ(หน่วยชั่งชนิดหนึ่ง)ไม่ต้องจ่ายซะ”
(อัล-บุคอรีย์ 1405 มุสลิม 979)
เอากิยะฮฺ : หนึ่งเอากิยะฮฺเท่ากับสี่สิบดิรฮัม
มิซกอล : มี 2 ชนิด
หนึ่ง : มิซกอล อะญะมีย์
เท่ากับสี่กรัม กับอีกเศษแปดส่วนสิบหก ดังนั้น ยี่สิบมิซกอลจึงเท่ากับ 96 กรัม (ประมาณ 6 บาททอง)
สอง : มิซกอล อิรอกีย์
เท่ากับห้ากรัม ดังนั้น ยี่สิบมิซกอลเท่ากับ 100 กรัม
การยึดเอาอัตราที่น้อยที่สุดในเรื่องนี้ไว้ก่อนจึงเป็นการดีกว่า
นั่นคือยึดตาม มิซกอล อะญะมีย์
ดิรฮัม : เป็นที่ยอมรับกันว่า 10 ดิรฮัม มีน้ำหนักเท่ากับ 7 มิซกอล คือมีน้ำหนัก 33 กรัม กับอีก เศษหกส่วนสิบกรัม
ดังนั้น 200
ดิรฮัมจึงเท่ากับเนื้อเงินหนัก 672 กรัม
จำนวนที่จำเป็นต้องจ่ายซากาตทองคำและเงิน
เมื่อครอบครองทองคำหรือเงินครบพิกัด
หรือเกินกว่านั้น และได้ครอบครองไว้ครบหนึ่งปี ก็จำเป็นต้องจ่ายซากาต ในอัตราส่วน
เศษหนึ่งส่วนสี่ของเศษหนึ่งส่วนสิบของทรัพย์สิน หรือเท่ากับร้อยละ 2.5
2. พิกัดปศุสัตว์ และจำนวนที่ต้องจ่ายซากาต
ปศุสัตว์นั้นได้แก่
อูฐ วัว และแพะ
อูฐ : พิกัดต่ำสุดของพิกัดอูฐคือ
5 ตัว
และถ้าอูฐมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซากาตก็จะเพิ่มตามสัดส่วนดังต่อไปนี้
หมายเหตุ
|
จำนวนต้องจ่าย
|
พิกัด
|
แกะที่ผลัดฟันหน้า หรือมีอายุ 1 ปี หรือแพะอายุ 2 ปี
|
แกะ 1 ตัว
|
5-9
|
แกะ/แพะ
|
แกะ 2 ตัว
|
10-14
|
แกะ/แพะ
|
แกะ 3 ตัว
|
15 -19
|
แกะ/แพะ
|
แกะ 4 ตัว
|
20-24
|
อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 2
|
บินตุ มะคอฎ 1 ตัว
|
25-35
|
อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 3
|
บินตุ ละบูน 1 ตัว
|
36-45
|
อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 4
|
หิกเกาะฮฺ 1 ตัว
|
46-60
|
อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 5
|
ญะซะอะฮฺ 1 ตัว
|
61-75
|
อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 3
|
บินตุ ละบูน 2 ตัว
|
76-90
|
อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 4
|
หิกเกาะฮฺ 2 ตัว
|
91-120
|
หมายเหตุ : หากอูฐเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่า
120 ตัว ทุก 40 ตัว
ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 3 หนึ่งตัว ทุก 50 ตัว ต้องจ่ายอูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 4 หนึ่งตัว และหากอูฐเพิ่มขึ้นถึง
170 ตัว
ต้องจ่าย อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 3 สามตัวและ อูฐตัวเมียอายุย่างเข้าปีที่ 4 หนึ่งตัว
วัว : พิกัดต่ำสุดของวัว
คือ 30 ตัว และถ้าวัวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ซากาตก็จะเพิ่มตามสัดส่วนดังต่อไปนี้
จำนวนซะกาต
|
ถึง
|
จาก
|
(ตะบีอฺ)ลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีหนึ่งตัว
|
39 ตัว
|
30 ตัว
|
(มุสินนะฮฺ)วัวตัวเมียอายุสองปีหนึ่งตัว
|
59 ตัว
|
40 ตัว
|
ลูกวัวตัวผู้หรือตัวเมียอายุหนึ่งปีสองตัว
|
69 ตัว
|
60 ตัว
|
มุสินนะฮฺและตะบีอฺ อย่างละ 1 ตัว
|
79 ตัว
|
70 ตัว
|
มุสินนะฮฺ 2 ตัว
|
89 ตัว
|
80 ตัว
|
ตะบีอฺ 3 ตัว
|
99 ตัว
|
90 ตัว
|
มุสินนะฮฺ 1 ตัว และตะบีอฺ 2
ตัว
|
109 ตัว
|
100 ตัว
|
มุสินนะฮฺ 2 ตัวและ ตะบีอฺ 1 ตัว
|
119 ตัว
|
110 ตัว
|
เมื่อจำนวนวัวเกินกว่าที่กล่าวมานั้น
ก็จะต้องจ่ายซากาตเพิ่มในอัตราส่วน คือ ทุกๆวัว 30 ตัว ต้องจ่าย
ลูกวัวตัวผู้หรือเมียอายุหนึ่งปี 1 ตัว และทุกๆ 40 ตัว ต้องจ่ายวัวตัวเมียอายุสองปี 1 ตัว
แพะ : พิกัดต่ำสุดคือ 40 ตัว
และถ้าแพะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ซากาตก็จะเพิ่มตามสัดส่วนดังต่อไปนี้
จำนวนซะกาต
|
ถึง
|
จาก
|
แพะอายุสองปี 1 ตัว หรือแกะอายุหนึ่งปี 1 ตัว
|
120 ตัว
|
40 ตัว
|
แพะสองตัว
|
200 ตัว
|
121ตัว
|
แพะสามตัว
|
300 ตัว
|
201ตัว
|
นอกจากนั้นแล้ว
ทุกๆ 100 ตัว ต้องจ่ายแกะหรือแพะ 1 ตัว
3. ซากาตพืชผลทางการเกษตรและผลไม้
จำเป็นต้องจ่ายซากาตในธัญพืชและผลไม้ชนิดที่มนุษย์ใช้รับประทานเป็นอาหารหนักในยามปกติ
และสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสีย ซึ่งผลไม้ได้แก่ อินทผาลัมสุก และองุ่น ธัญพืช
ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวสาร ถั่ว และข้าวโพด เป็นต้น จะไม่พิจารณาอาหารหนักที่ใช้บริโภคในยามไม่ปกติและในยามขาดแคลน
หลักฐานที่จำเป็นต้องจ่ายซากาตพืชและผลไม้ คือ
كُلُوا
مِن ثَمَرِهِ إِذَا أَثْمَرَ وَآتُوا حَقَّهُ يَوْمَ حَصَادِهِ
“ท่านทั้งหลายจงรับประทานผลของมันเมื่อมันออกผล
และจงจ่ายสิทธิ์ของมันในวันที่เก็บเกี่ยวมัน” อัลอันอาม 141
พิกัดซากาตธัญพืชและผลไม้
จากอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«لَيْسَ فِيمَا
دُونَ خَمْسِ أَوَاقٍ صَدَقَةٌ، وَلَيْسَ فِيمَا دُونَ خَمْسِ ذَوْدٍ صَدَقَةٌ، وَلَيْسَ
فِيمَا دُونَ خَمْسِ أَوْسُقٍ صَدَقَةٌ»
ความว่า
“ทรัพย์สินที่ไม่ครบห้าอูกิยะฮฺ(หน่วยชั่งชนิดหนึ่ง)ไม่ต้องจ่ายซะกาต
อูฐที่ไม่ครบห้าตัวไม่ต้องจ่ายซะกาต ธัญญพืชที่ไม่ครบห้าวะสัก(หน่วยตวงชนิดหนึ่ง)ไม่ต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน”
(อัล-บุคอรีย์ 1405 มุสลิม 979)
เงื่อนไขของซะกาต ธัญพืชและผลไม้
มีเงื่อนไขว่าธัญพืชและผลไม้นั้นต้องอยู่ในครอบครองในเวลาที่มีการวาญิบซะกาต
และครบพิกัดซึ่งมีปริมาณห้า วะสัก คือเท่ากับสามร้อย ศออฺ ในสมัยท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือเทียบเท่ากับ 612 กิโลกรัมของข้าวสาลีโดยประมาณ
- หนึ่งศออฺสมัยท่านนบีนั้นเทียบเท่ากับ 2.40 กิโลกรัมของข้าวสาลีโดยประมาณ
ดังนั้นภาชนะที่มีความจุเท่ากับจำนวนนี้ถือว่าเท่ากับหนึ่งศออฺของสมัยท่านนบี ซึ่งเท่ากับสี่กอบมือโดยมือคนขนาดกลาง
- ให้ทำการเสิรมผลไม้ของปีเดียวเพื่อให้ครบนิศอบ(พิกัด)หากเป็นชนิดเดียวกันเช่นอินทผลัมชนิดต่างๆ
เป็นต้น
จำนวนที่วาญิบสำหรับซะกาตธัญพืชและผลไม้
1- หนึ่งส่วนสิบ หรือร้อยละสิบ สำหรับผลผลิตที่ได้มาโดยการรดน้ำที่ไม่มีภาระใด
เช่นพืชที่อาศัยน้ำฝน หรือน้ำจากตาน้ำ เป็นต้น
2- ครึ่งของหนึ่งส่วนสิบ หรือร้อยละห้า สำหรับผลผลิตที่ได้มาโดยการรดน้ำที่มีภาระ
เช่น น้ำบ่อที่ใช้เครื่องมือในการตัก เป็นต้น
รายงานจากท่าน อิบนุ
อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«فِيمَا سَقَتِ السَّمَاءُ وَالعُيُونُ أَوْ
كَانَ عَثَرِيّاً العُشْرُ، وَمَا سُقِيَ بِالنَّضْحِ نِصْفُ العُشْرِ». أخرجه
البخاري.
“ในสิ่งที่อาศัยน้ำฝนและน้ำจากตาน้ำ หรืออาศัยน้ำฝนหรือลำต้นดูดน้ำเองนั้นต้องจ่ายซะกาตหนึ่งส่วนสิบ
และสิ่งที่มีการรด(อาศัย)น้ำจากการใช้ระหัดวิดน้ำ(ถังรด)ต้องจ่ายครึ่งของหนึ่งส่วนสิบ”
[บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์
หมายเลข 1483]
3- สามส่วนสี่ของหนึ่งส่วนสิบ หรือ ร้อยละเจ็ดจุดห้า
สำหรับผลผลิตที่ได้มาจากน้ำทั้งสองแบบ
คือใช้น้ำจากบ่อรดให้ในบางครั้งบางช่วงและได้น้ำฝนรดให้ในบางช่วงบางคราว
เมื่อไหร่จำเป็นจะต้องจ่ายซากาตผลไม้ (องุ่น
อินทผาลัม) และธัญพืช
จะยังไม่จำเป็นต้องจ่ายซากาตธัญพืช
จนกว่าจะเป็นเมล็ดและแข็งเสียก่อน และไม่มีเงื่อนไขว่าต้องแข็งทั้งหมด
แต่เมื่อมีบางส่วนแข็ง ก็ถือว่าแข็งทั้งหมด
สำหรับผลไม้จะยังไม่จำเป็นต้องจ่ายซากาต
จนกว่าสุก โดยผลมีสีแดง หรือเหลือง หรือสีประจำของผลไม้นั้นๆ ที่แสดงว่ามันสุก
เมื่อมีบางส่วนสุก ก็ถือว่าสุกทั้งหมด
4.
ซากาตการค้า
การค้าหมายถึง การแลกเปลี่ยนทรัพย์กับสิ่งตอบแทน
เพื่อผลกำไรและการค้าไม่จำกัดว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด
ดังนั้นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าก็คือ
สินค้าที่มีการเปลี่ยนมือเพื่อผลกำไร
(ปลาสวยงามและต้นไม้ประดับก็เข้าอยู่ในคำนิยามนี้) และทรัพย์สินที่อยู่ในการครอบครองกรรมสิทธิ์
จะไม่กลายสภาพเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตนอกจากต้องมีเงื่อนไขประการนี้
1. ได้ทรัพย์นั้นมาครอบครองโดยมีข้อตกลงแลกเปลี่ยน เช่น ซื้อขาย เป็นต้น ถ้าหากได้มาครอบครองโดยการรับมรดก หรือพินัยกรรม หรือยกให้ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้า
2. เมื่อครอบครองแล้วมีเจตนาเอาไว้ใช้ในการค้า และการมีเจตนานี้มีอยู่โดยตลอด หากได้ครอบครองแล้วไม่มีเจตนาเอาไว้ใช้ในการค้า ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และหากมีการเปลี่ยนเจตนาในภายหลังก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน
ทรัพย์ที่ใช้ทำการค้านั้น ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับทองคำและเงินในเรื่องพิกัด,การครบรอบปี และจำนวนที่จำเป็นต้องจ่ายออกไป กล่าวคือ ให้ตีราคาสินค้าเป็นทองคำหรือเงิน ที่ใช้เป็นเงินตรา ดังนั้นถ้าหากราคาสินค้ามีค่าเท่ากับทองคำ 96 กรัม หรือเท่ากับเงินสองร้อยดิรฮัมก็จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และผู้ทำการค้ามีสิทธิที่จะเลือกว่าจะเทียบราคาสินค้ากับทองคำหรือกับเงิน ยกเว้นในกรณีที่เขาซื้อสินค้ามาด้วยราคาที่เป็นทองคำหรือเป็นเงิน ก็จำเป็นต้องตีราคาตามนั้นโดยไม่มีสิทธิเลือก ทั้งนี้มีหลักให้พิจารณาท้ายปี นับแต่เริ่มทำการค้า โดยไม่พิจารณาว่าทรัพย์ที่ใช้ในการทำการค้านั้นจะครบพิกัดหรือไม่ในตอนเริ่มต้น และไม่ต้องคำนึงว่าทรัพย์นั้นต้องมีอยู่ครบตามพิกัดตลอดทั้งปี กล่าวคือ ให้พิจารณาการครอบครองสินค้าโดยมีเจตนาทำการค้าครบหนึ่งปี (ตามจันทรคติ) โดยเมื่อครบรอบปีให้ผู้ทำการค้าสำรวจสินค้าทุกชนิดในร้านของตนที่มีไว้เพื่อขาย เช่น สำรวจจำนวนของปลาสวยงามมีทั้งหมดเท่าไหร่และทั้งหมดรวมเป็นจำนวนเท่าใด เงินจำนวนนั้นถึงอัตราพิกัดหรือไม่ เป็นต้น และให้ตีราคาสินค้าขณะสำรวจเป็นราคาทองคำหรือเงิน ถ้าถึงอัตราพิกัดก็ให้จ่ายซะกาตเศษหนึ่งส่วนสี่ของเศษหนึ่งส่วนสิบ (ร้อยละ 2.5%) ถ้าหากไม่ถึงอัตราพิกัด ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และสิ่งที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตนั้นเป็นราคาของสินค้าที่ตีราคาได้ มิใช่ตัวสินค้าแต่อย่างใด ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ แต่ถ้าจะจ่ายเป็นตัวสินค้าตามทัศนะที่ระบุเช่นนั้น ก็สามารถทำได้ โดยต้องจ่ายร้อยละสองครึ่งจากสินค้าทุกชนิดที่ครอบครองซึ่งตัวสินค้าดังกล่าวต้องไม่มีตำหนิหรือเสื่อมความนิยมจากท้องตลาด หากนำสินค้าที่มีลักษณะดังกล่าวมาจ่ายก็ถือว่าใช้ไม่ได้
(สรุปความจากอัลฟิกฮุล-มันฮะญี่ย์ เล่มที่ 2 หน้า 26 , 27 , 43-45)
1. ได้ทรัพย์นั้นมาครอบครองโดยมีข้อตกลงแลกเปลี่ยน เช่น ซื้อขาย เป็นต้น ถ้าหากได้มาครอบครองโดยการรับมรดก หรือพินัยกรรม หรือยกให้ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้า
2. เมื่อครอบครองแล้วมีเจตนาเอาไว้ใช้ในการค้า และการมีเจตนานี้มีอยู่โดยตลอด หากได้ครอบครองแล้วไม่มีเจตนาเอาไว้ใช้ในการค้า ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และหากมีการเปลี่ยนเจตนาในภายหลังก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน
ทรัพย์ที่ใช้ทำการค้านั้น ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับทองคำและเงินในเรื่องพิกัด,การครบรอบปี และจำนวนที่จำเป็นต้องจ่ายออกไป กล่าวคือ ให้ตีราคาสินค้าเป็นทองคำหรือเงิน ที่ใช้เป็นเงินตรา ดังนั้นถ้าหากราคาสินค้ามีค่าเท่ากับทองคำ 96 กรัม หรือเท่ากับเงินสองร้อยดิรฮัมก็จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และผู้ทำการค้ามีสิทธิที่จะเลือกว่าจะเทียบราคาสินค้ากับทองคำหรือกับเงิน ยกเว้นในกรณีที่เขาซื้อสินค้ามาด้วยราคาที่เป็นทองคำหรือเป็นเงิน ก็จำเป็นต้องตีราคาตามนั้นโดยไม่มีสิทธิเลือก ทั้งนี้มีหลักให้พิจารณาท้ายปี นับแต่เริ่มทำการค้า โดยไม่พิจารณาว่าทรัพย์ที่ใช้ในการทำการค้านั้นจะครบพิกัดหรือไม่ในตอนเริ่มต้น และไม่ต้องคำนึงว่าทรัพย์นั้นต้องมีอยู่ครบตามพิกัดตลอดทั้งปี กล่าวคือ ให้พิจารณาการครอบครองสินค้าโดยมีเจตนาทำการค้าครบหนึ่งปี (ตามจันทรคติ) โดยเมื่อครบรอบปีให้ผู้ทำการค้าสำรวจสินค้าทุกชนิดในร้านของตนที่มีไว้เพื่อขาย เช่น สำรวจจำนวนของปลาสวยงามมีทั้งหมดเท่าไหร่และทั้งหมดรวมเป็นจำนวนเท่าใด เงินจำนวนนั้นถึงอัตราพิกัดหรือไม่ เป็นต้น และให้ตีราคาสินค้าขณะสำรวจเป็นราคาทองคำหรือเงิน ถ้าถึงอัตราพิกัดก็ให้จ่ายซะกาตเศษหนึ่งส่วนสี่ของเศษหนึ่งส่วนสิบ (ร้อยละ 2.5%) ถ้าหากไม่ถึงอัตราพิกัด ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และสิ่งที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตนั้นเป็นราคาของสินค้าที่ตีราคาได้ มิใช่ตัวสินค้าแต่อย่างใด ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ แต่ถ้าจะจ่ายเป็นตัวสินค้าตามทัศนะที่ระบุเช่นนั้น ก็สามารถทำได้ โดยต้องจ่ายร้อยละสองครึ่งจากสินค้าทุกชนิดที่ครอบครองซึ่งตัวสินค้าดังกล่าวต้องไม่มีตำหนิหรือเสื่อมความนิยมจากท้องตลาด หากนำสินค้าที่มีลักษณะดังกล่าวมาจ่ายก็ถือว่าใช้ไม่ได้
(สรุปความจากอัลฟิกฮุล-มันฮะญี่ย์ เล่มที่ 2 หน้า 26 , 27 , 43-45)
หมายเหตุ : จากบทความของ อ.อาลี เสือสมิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น