صلاة النفل
ละหมาดสุนัต (อันนัฟล์)
อันนัฟล์
ตามหลักภาษา หมายถึง เกิน
อันนัฟล์
ตามหลักศาสนา หมายถึง สิ่งที่นอกจากฟัรดู
ที่เรียกกันอย่างนั้นก็เพราะว่า
ละหมาดสุนัต (อันนัฟล์) นั้น
เป็นละหมาดที่นอกเหนือไปจากการละหมาดที่อัลลอฮ์ตาอาลาได้กำหนดให้เป็นฟัรดู (อรุณ
บุญชม)
การละหมาดสุนัตมีหลายประเภท
1-
ประเภทที่ถูกบัญญัติให้ละหมาดร่วมกันเป็นญะมาอะฮฺ
เช่นละหมาดตะรอวีหฺ อิสติสกออ์(ขอฝน) กุสูฟ(เมื่อเกิดสุริยคราสและจันทรคราส)
และอีดทั้งสอง
2-
ประเภทที่ไม่ได้บัญญัติให้ละหมาดร่วมกัน
เช่นละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
3-
ประเภทที่ยึดติดกับการละหมาดวาญิบ
เช่นละหมาดเราะวาติบ
4-
ประเภทที่ไม่ได้ยึดติดกับการละหมาดวาญิบ
เช่นละหมาดฎุฮา
5-
ประเภทที่มีกำหนดเวลา
เช่นละหมาดตะฮัจญุด
6-
ประเภทที่ไม่ได้มีกำหนดเวลา
เช่น ละหมาดสุนัตมุฏลัก
7-
ประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุ
เช่นละหมาดตะหิยะตุลมัสญิด ละหมาดสองร็อกอะฮฺวุฎูอ์
8-
ประเภทที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุ
เช่นละหมาดสุนัตมุฏลัก
9-
ประเภทที่เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ
เช่นละหมาดอีดทั้งสอง กุสูฟ และวิตรฺ
10-
ประเภทที่ไม่เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ
เช่นละหมาดก่อนมัฆฺริบ เป็นต้น
นี่คือความประเสริฐที่อัลลอฮฺมอบให้แก่บ่าวของพระองค์
กล่าวคือพระองค์ได้บัญญัติแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่พวกจะได้ใช้เพื่อเข้าใกล้กับพระองค์
เปิดโอกาสหลายช่องทางให้แก่บ่าวเพื่อพวกเขาจะได้ขจัดความผิดต่อพระองค์
เพิ่มพูนผลบุญและยกระดับความใกล้ของตัวเองกับพระองค์ ฉะนั้นจึงควรเป็นอย่างยิ่งที่บ่าวจะกล่าวสรรเสริญและขอบคุณพระองค์
(มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์)
1- การละหมาดสุนัตเราะวาติบ
صلاة
الرواتب
สุนัตเราะวาติบ คือการละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎุ
ซึ่งเป็นสุนัตมุอักกัด
ประเภทของการละหมาดเราะวาติบ
หนึ่ง สุนัตเราะวาติบมุอักกะดะฮฺ(เน้นให้ปฏิบัติ)
ซึ่งมีทั้งหมด 12 ร็อกอะฮฺ
1-
สี่ร็อกอะฮฺก่อนละหมาดซุฮฺริ
2-
สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดซุฮฺริ
3-
สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดมัฆฺริบ
4-
สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดอิชาอ์
5-
สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดฟัจญ์รฺ
(ศุบหฺ)
มีรายงานจากท่านหญิงอุมมุ
หะบีบะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮา ภรรยาของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَـا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِـمٍ يُصَلِّي ٬ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَي عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعاً غَيْرَ فَرِيضَةٍ إلَّا بَنَى الله لَـهُ بَيْتاً فِي الجَنَّةِ، أَوْ إلَّا بُنِيَ لَـهُ بَيْتٌ فِي الجَنَّةِ»
ความว่า
“ไม่มีบ่าวมุสลิมคนไหนที่ได้ละหมาดสุนัตวันละ 12
ร็อกอะฮฺ นอกจากอัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้เขาหลังหนึ่งในสวรรค์ หรือ
บ้านหลังหนึ่งจะถูกสร้างให้เขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 728)
และบางครั้งอาจละหมาดเราะวาติบมุอักกะดะฮฺ
เพียง 10 ร็อกอะฮฺ
ซึ่งจะเหมือนที่กล่าวมาข้างต้นทุกอย่างเพียงแต่ละหมาดก่อนซุฮฺริแค่ 2
ร็อกอะฮฺ
มีรายงานจากท่านอิบนุอุมัรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า
صَلَّيْتُ مَعَ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم قَبْلَ الظُّهْر سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَهَا سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ المَغْرِبِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ العِشَاءِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ الجُـمُعَةِ سَجْدَتَيْنِ، فَأَمَّا المَغْرِبُ وَالعِشَاءُ وَالجُـمُعَةُ فَصَلَّيْتُ مَعَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فِي بَيْتِـهِ
ความว่า
“ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก่อนซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังมัฆฺริบ 2 ร็อกอะฮฺ หลังอิชาอ์ 2 ร็อกอะฮฺ ก่อนศุบฺหิ 2 ร็อกอะฮฺ
และหลังจากญุมุอะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺ
ซึ่งละหมาดหลังมัฆฺริบ อิชาอ์ และญุมุอะฮฺนั้น ฉันละหมาดกับท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่บ้านของท่าน”
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ :
937 และมุสลิม เลขที่: 729 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
สอง สุนัตเราะวาติบที่ไม่มุอักกะดะฮฺ
ซึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมทำ แต่ไม่ได้ทำเป็นประจำ ได้แก่ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอัศฺริ
สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดมัฆฺริบ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอิชาอ์ และมีสุนัตสี่ร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอัศฺริ
สุนัตเราะวาติบที่เน้นให้กระทำมากที่สุด
สุนัตเราะวาติบที่เน้นให้ทำมากที่สุดคือ
สองร็อกอะฮฺก่อนศุบหฺ โดยมีสุนัตให้ละหมาดเพียงสั้นๆ ซึ่งหลังจากสูเราะฮฺฟาติหะฮฺให้อ่านในร็อกอะฮฺแรกด้วยสูเราะฮฺ
อัล-กาฟิรูน และในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ
ผู้ใดที่ไม่ทันละหมาดสุนัตเราะวาติบเหล่านี้ในเวลาของมันเนื่องจากเหตุจำเป็น
สุนัตให้เขาละหมาดชดในเวลาอื่น
สมมุติว่าหากมุสลิมคนหนึ่งได้อาบน้ำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด)และได้เข้ามัสญิดหลังจากอะซานซุฮฺริ
แล้วได้ละหมาดสองร็อกอะฮฺโดยตั้งเจตนาว่าได้ละหมาดตะหิยะตุลมัสญิด สุนัตวุฎูอ์และสุนัตก่อนซุฮฺริพร้อมๆ
กันถือว่าการละหมาดของเขาใช้ได้
ส่งเสริมให้ทิ้งช่วง
ระหว่างละหมาดวาญิบกับละหมาดสุนัตเราะวาติบทั้งก่อนและหลังด้วยการย้ายที่หรือการพูดคุย
จะละหมาดเราะวาติบที่บ้านหรือที่มัสญิดก็ได้
แต่ที่ดีที่สุดคือละหมาดที่บ้านเพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวไว้ว่า
«... فَصَلُّوا أَيُّهَا النَّاسُ فِي بُيُوتِكُمْ فَإنَّ أَفْضَلَ الصَّلاةِ صَلاةُ المَرْءِ فِي بَيْتِـهِ إلَّا المَكْتُوبَةَ»
ความว่า
“พวกท่านจงละหมาดสุนัตที่บ้านของพวกท่านเถิด เพราะการละหมาดที่ดีที่สุด คือการที่คนๆหนึ่งละหมาดที่บ้านของเขา
ยกเว้นละหมาดวาญิบ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 731 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม เลขที่: 781)
2- การละหมาดตะฮัจญุด
صلاة
التهجد
หุก่มกิยามุลลัยลฺ
กิยามุลลัยลฺ
คือการละหมาดตะฮัจญุด เป็นสุนัตที่ไม่จำกัดจำนวนรอกาอัต
แต่ให้ปฏิบัติภายหลังจากตื่นนอนและก่อนอาซานซุบฮี
ตะฮัจญุด แปลว่า ละทิ้งการนอน
1-
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ) [المزمل / 1-4].
ความว่า “โอ้ผู้คลุมกายอยู่นั้น
จงยืนขึ้น(ละหมาด)ในเวลากลางคืนเว้นแต่เพียงเล็กน้อย(ไม่ใช่ตลอดคืน)
ครึ่งหนึ่งของกลางคืน หรือลดน้อยกว่านั้นเพียงเล็กน้อย หรือมากกว่านั้น
และจงอ่านอัลกุรอานช้าๆเป็นจังหวะ” (อัล-มุซซัมมิล : 1-4)
2-
และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ) [الإسراء/79].
ความว่า
“และจากบางช่วงของกลางคืน เจ้าจงตื่นขึ้นมาละหมาด เป็นการสมัครใจสำหรับเจ้า
หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ” (อัล-อิสรออ์ :79)
ความประเสริฐของการละหมาดกิยามุลลัยลฺ
กิยามุลลัยลฺเป็นอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุดอย่างหนึ่ง
และประเสริฐกว่าการละหมาดสุนัต กลางวัน เพราะมันจะเกิดความอิคลาศเพื่ออัลลอฮฺมากกว่าเนื่องจากเป็นช่วงที่ลับจากสายตาผู้คน
และเนื่องจากความลำบากอดนอนหรือตื่นนอนเพื่อทำการละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่น้อยคนจะทำได้
และเนื่องจากมันการละหมาดที่ได้รสชาติในการเข้าพบอัลลอฮฺมากที่สุด
และในช่วงท้ายของกลางคืนนั้นเป็นเวลากิยามุลลัยลฺที่ประเสริฐที่สุด
1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ) [المزمل/6].
ความว่า
“แท้จริงการตื่นขึ้นในเวลากลางคืนนั้นเป็นเป็นที่ประทับใจและการอ่านที่ชัดเจนยิ่ง” (อัล-มุซซัมมิล : 6)
2-
และมีรายงานจากท่านอัมฺรุ อิบนุ อับสะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ أَقْرَبَ مَا يَكُونُ الرَّبُّ عَزَّ وَجَلَّ مِنَ العَبْدِ جَوْفَ اللَّيْلِ الآخِرِ، فَإنْ اسْتَطَعْتَ أَنْ تَـكُونَ مِـمَّنْ يَذْكُرُ الله عَزَّ وَجَلَّ فِي تِلْكَ السَّاعَةِ فَكُنْ، فَإنَّ الصَّلاةَ مَـحْضُورَةٌ مَشْهُودَةٌ إلَى طُلُوعِ الشَّمْسِ..»
ความว่า “แท้จริงช่วงที่อัลลอฮฺจะอยู่ใกล้กับบ่าวของพระองค์มากที่สุดคือช่วงท้ายของกลางคืน
ฉะนั้นหากท่านทำจะทำตัวเป็นคนที่ซิกฺรุระลึกถึงอัลลอฮฺในช่วงดังกล่าวได้ก็จงทำ
เพราะการละหมาดในช่วงนี้มะลาอิกะฮฺจะคอยเป็นสักขีพยานตลอดจนกระทั่งเช้า” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ
บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์3579 และอัน-นะสาอีย์
572 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน)
3-
และมีคนถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าการละหมาดใดที่ประเสริฐที่รองลงมาจากละหมาดห้าเวลา?
ท่านตอบว่า
«أَفْضَلُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الصَّلاةِ المَكْتُوبَةِ، الصَّلاةُ فِي جَوْفِ اللَّيْلِ»
ความว่า
“การละหมาดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากละหมาดห้าเวลาคือการละหมาดในช่วงท้ายของกลางคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1163)
ช่วงเวลากลางคืนที่ดุอาอ์จะถูกตอบรับ
1-
มีรายงานจากท่านญาบิรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ فِي اللَّيْلِ لَسَاعَةً لا يُوَافِقُهَا رَجُلٌ مُسْلِـمٌ يَسْأَلُ الله خَيْراً مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، إلَّا أَعْطَاهُ إيَّاهُ، وَذَلِكَ كُلَّ لَيْلَةٍ»
ความว่า
“แท้จริงในเวลากลางคืนนั้นมีช่วงหนึ่งที่ไม่มีมุสลิมคนไหนที่ขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้เขาได้สิ่งหนึ่งจากประการทางโลกหรืออาคิเราะฮฺซึ่งตรงกับช่วงดังกล่าวพอดี
นอกจากอัลลอฮฺจะให้สิ่งที่เขาขอแน่นอน และช่วงที่ว่านี้จะมีอยู่ทุกคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 757)
2-
และมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ได้กล่าวว่า
«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَـبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إلَى سَمَاءِ الدُّنْيَا حِيْنَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَـقُولُ: مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَـجِيبَ لَـهُ؟ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَـهُ؟، مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَـهُ؟»
ความว่า
“แท้จริงอัลลอฮฺจะลงมาสู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งในทุกๆคืนในช่วงหนึ่งในสามสุดท้ายของคืน
แล้วพระองค์จะกล่าวว่า มีผู้ใดวิงวอนขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าตอบรับคำขอนั้น มีผู้ใดขออะไรจากข้าไหม
แล้วข้าจะให้เขาในสิ่งที่เขาขอ มีผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้าไหม แล้วข้าจะอภัยให้แก่เขา”
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1145 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 758)
ช่วงเวลาในการละมาดตะฮัจญุด
เวลาที่ประเสริฐที่สุดคือหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน
ทั้งนี้ให้แบ่งกลางคืนออกเป็นสองส่วนแล้วลุกขึ้นละหมาดช่วงหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน
แล้วนอนในช่วงท้าย
มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ
อิบนุ อัมฺริน อิบนุ อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ได้กล่าวว่า
«أَحَبُّ الصَّلاةِ إلَى الله صَلاةُ دَاوُدَ عَلَيْـهِ السَّلام، وَأَحَبُّ الصِّيَامِ إلَى الله صِيَامُ دَاوُدَ، وَكَانَ يَنَامُ نِصْفَ اللَّيْلِ، وَيَـقُومُ ثُلُثَهُ، وَيَنَامُ سُدُسَهُ، وَيَصُومُ يَوماً، وَيُفْطِرُ يَوماً»
ความว่า
“การละหมาดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดคือการละหมาของดาวุด อะลัยฮิสลาม และการถือศีลอดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดก็คือการถือศีลอดของดาวุดอาลัยฮิสลามเช่นกัน
ซึ่งท่านจะนอนหนึ่งในสองส่วนแรกของกลางคืน แล้วลุกขึ้นมาละหมาดหนึ่งในสามช่วงแรกของส่วนที่สองของกลางคืน
แล้วนอนอีกครั้งในหนึ่งในหกช่วงท้ายของของส่วนที่สองของกลางคืน
และท่านจะถือศีลอดวันหนึ่ง แล้วหยุดวันหนึ่งตลอด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1131 สำนวนนี้เป็นของท่าน
และมุสลิม เลขที่: 1159)
3-
การละหมาดวิตรฺ
صلاة الوتر
หุก่มการละหมาดวิตรฺ
การละหมาดวิตรฺเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ
ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำ
ที่เรียกว่าเป็นละหมาดวิตร คือ ละหมาดที่มีจำนวนเป็นคี่ เพราะละหมาดวิตรนี้จะต้องจบลงด้วยการละหมาดอีกหนึ่งรอกาอัตซึ่งต่างจากละหมาดอื่น
ทั้งนี้ได้มีรายงานกล่าวว่า
ياأهل القران أوتروا ،
فان الله وتر يحب الوتر
“โอ้ชาวอัลกุรอ่าน
ท่านทั้งหลายจะละหมาดวิตรเถิด เพราะแท้จริงอัลลอฮ์คี่ (คือองค์เดียว)
พระองค์รักจำนวนคี่
เวลาของการละหมาดวิตรฺ
เวลาละหมาดวิตรฺคือหลังจากละหมาดอิชาอ์จนถึงออกฟัจญฺริที่สอง(คือถึงเวลาละหมาดศุบหฺ)
และช่วงท้ายของกลางคืนเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เชื่อใจตัวเองว่าจะตื่นละหมาดได้
ทั้งนี้มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
مِنْ كُلِّ اللَّيْلِ قَدْ أَوْتَرَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم مِنْ أَوَّلِ اللَّيْلِ، وَأَوْسَطِهِ، وَآخِرِهِ، فَانْتَـهَى وِتْرُهُ إلَى السَّحَرِ
ความว่า
“ในตลอดทั้งคืนเป็นช่วงเวลาที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยละหมาดวิตรฺทั้งสิ้นบางครั้งในช่วงแรก
ในช่วงกลาง และในช่วงท้าย จนกระทั่งจบวิตรฺในเวลาสุหูรฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 996 และมุสลิม
เลขที่: 745 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
อะบูดาวูดได้รายงาน
(1418) ว่า ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
แท้จริงอัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร
ได้ให้ความช่วยเหลือพวกท่านด้วยละหมาดหนึ่งซึ่งดีแก่พวกท่านยิ่งกว่าอูฐแดง(เป็นสิ่งมีค่ามาก)
นั่นคือละหมาดวิตร์ พระองค์ได้ทรงกำหนดมันขึ้นระหว่างละหมาดอีชาอ์
จนถึงแสงอรุณขึ้น
ให้มุสลิมละหมาดวิตรฺหลังจากละหมาดตะฮัจญุด
แต่หากกลัวว่าไม่ตื่น ก็ให้ละหมาดก่อนนอน เพราะมีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ว่า
«مَنْ خَافَ أَنْ لا يَـقُومَ مِنْ آخِرِ اللَّيْلِ فَلْيُوتِرْ أَوَّلَـهُ، وَمَنْ طَمِعَ أَنْ يَـقُومَ آخِرَهُ فَلْيُوتِرْ آخِرَ اللَّيْلِ، فَإنَّ صَلاةَ آخِرِ اللَّيْلِ مَشْهُودَةٌ، وَذَلِكَ أَفْضَلُ»
ความว่า
“ผู้ใดที่กลัวว่าตัวเองจะไม่ตื่นในช่วงท้ายของกลางคืน ให้เขาละหมาดวิตรฺในช่วงแรกๆและผู้ใดที่มั่นใจว่าจะตื่นในช่วงท้ายให้ละหมาดวิตรฺในช่วงท้าย
เพราะการละหมาดวิตรฺในช่วงท้ายนั้นมลาอิกะฮฺจะดูเป็นสักขีพยาน
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า” (บันทึกโดยมุสลิม
หมายเลข 755)
จำนวนรอกาอัตของละหมาดวิตรฺอย่างน้อยที่สุดและมากที่สุด
อย่างน้อยของละหมาดวิตร์คือ
หนึ่งรอกาอัต แต่มักโระห์ที่จะลหมาดแค่เพียงหนึ่งรอกาอัตเท่านั้น
อย่างน้อยของความสมบูรณ์คือ
สามรอกาอัต คือ สองรอกาอัตติดต่อกัน และอีกหนึ่ง รอกาอัตแยกต่างหาก
อย่างสมบูรณ์ที่สุด คือ สิบเอ็ดรอกาอัต
โดยสลามทุกๆสองรอกาอัต แล้วจบด้วยหนึ่ง
รอกาอัตต่างหาก
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ
ว่า
أوْصَانِي خَلِيلِي بِثَلاثٍ، لا أدَعُهُنَّ حَتَّى أمُوتَ: صَوْمِ ثَلاثَةِ أيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ، وَصَلاةِ الضُّحَى وَنَوْمٍ عَلَى وِتْرٍ
ความว่า
“ผู้เป็นที่รักยิ่งของฉันได้สั่งเสียฉันสามอย่างด้วยกัน
โดยไม่ให้ฉันละเลยสามอย่างนี้จนกว่าฉันจะตายไป คือการถือศีลอดสุนัตสามวันต่อเดือน
การละหมาดฎุฮา และการละหมาดวิตรฺก่อนนอน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1137 สำนวนนี้เป็นของท่าน
และมุสลิม เลขที่: 749)
4-
การละหมาดตะรอวีหฺ
صلاة التراويح
นิยาม
คำว่าอัตตะรอวีห์ (التراويح) หมายถึง
การหยุดพักในทุกๆสี่ร็อกอะฮ์
ละหมาดตะรอเวียะฮ์มียี่สิบร็อกอะฮ์
ในทุกเดือนของเดือนรอมฎอน โดยสลามทุกๆสองร็อกอะฮ์
หุก่มการละหมาดตะรอวีหฺ
การละหมาดตะรอวีหฺเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ
ซึ่งมีตัวบทว่าเป็นการกระทำของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
และจัดอยู่ในจำพวกละหมาดสุนัตที่บัญญัติให้ละหมาดเป็นญะมาอะฮฺในเดือนเราะมะฎอน
สาเหตุที่เรียกชื่อการละหมาดว่าตะรอวีหฺเพราะผู้ละหมาดต่างนั่งพักกันหลังจบสี่ร็อกอะฮฺ
เนื่องจากมีการอ่านยาว และละหมาดนาน
เวลาของการละหมาดตะรอวีหฺ
ให้ละหมาดตะรอวีหฺในเดือนเราะมะฎอนหลังจากละหมาดอิชาอ์จนกระทั่งออกฟัจญ์รฺ
เป็นสิ่งที่สุนัตสำหรับทั้งชายและหญิง ซึ่งท่านนบีได้เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ
มีรายงานจากท่านว่า
«مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إيمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ»
ความว่า “ผู้ใดละหมาดในเดือนเราะมะฎอน
ด้วยใจที่ศรัทธาและหวังในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดของเขาที่ผ่านมา”
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ :
1137 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม เลขที่: 749)
ลักษณะของการละหมาดตะรอวีหฺ
หนึ่ง ตามสุนนะฮฺแล้ว
ในการละหมาดตะรอวีหฺให้อิมามนำละหมาดบรรดามุสลิมสิบเอ็ดร็อกอะฮฺ
ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนร็อกอะฮฺที่ดีที่สุด
หรือบางครั้งอาจนำละหมาดถึงสิบสามร็อกอะฮฺก็ได้ โดยละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
และบางครั้งอาจละหมาดครั้งละสี่ร็อกอะฮฺก็ได้
ดังนั้นบางครั้งอาจละหมาดด้วยวิธีหนึ่งบางครั้งอีกวิธีหนึ่งทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูสุนนะฮฺ
1- มีรายงานว่า
سئلت عائشة رضي الله عنها كيف كانت صلاة رسول الله صلى الله عليه وسلم في رمضان؟ فقالت: مَا كَانَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يَزِيْدُ فِي رَمَضَانَ وَلا فِي غَيْرِهِ عَلَى إحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً، يُصَلِّي أَرْبَـعاً فَلا تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِـهِنَّ وَطُوْلِـهِنَّ، ثُمّ يُصَلِّي أَرْبَـعاً فَلا تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِـهِنَّ وَطُوْلِـهِنَّ، ثُمَّ يُصَلِّي ثَلاثاً...
ความว่า
“ครั้งหนึ่งมีคนถามท่านหญิงอาอิชะฮฺว่าลักษณะการละหมาดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ในเดือนเราะมะฎอนเป็นอย่างไร? ท่านตอบว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ไม่เคยละหมาดเกินสิบเอ็ดร็อกอะฮฺเลยไม่ว่าในเดือนเราะมะฎอนหรือเดือนอื่นๆ ท่านละหมาดสี่ร็อกอะฮฺซึ่งไม่ต้องบอกถึงความสละสลวยและความยาวนานของมัน
แล้วท่านละหมาดอีกสี่ร็อกอะฮฺซึ่งไม่ต้องบอกถึงความสละสลวยและความยาวนานของมันเช่นกัน
แล้วท่านก็ละหมาดอีกสามร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์
หมายเลข 1147)
2-
มีรายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
كَانَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي مِنَ اللَّيْلِ ثَلاثَ عَشْرَةَ رَكْعةً
ความว่า “ปรากฏว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ละหมาดในตอนกลางคืนสิบสามร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1138 และมุสลิม
เลขที่: 764
ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
3- มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ
เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
كَانَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي فِيْـمَا بَيْنَ أَنْ يَفْرُغَ مِنْ صَلاةِ العِشَاءِ إلَى الفَجْرِ إحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً، يُسَلِّمُ بَيْنَ كُلِّ رَكْعَتَيْنِ، وَيُوْتِرُ بِوَاحِدَةٍ
ความว่า
“ปรากฎว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ละหมาดหลังจากเสร็จละหมาดอิชาอ์จนกระทั่งออกฟัจญฺริสิบเอ็ดร็อกอะฮฺ
ท่านจะให้สลามในทุกๆสองร็อกอะฮฺแล้วละหมาดวิตฺริหนึงร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 736)
สอง นักปราชญ์แห่งประชาชาติอิสลามทั้งสะลัฟและคอลัฟ
ลงมติ(อิจมาอฺ) ว่าการละหมาดตะรอเวียะห์มี 20 ร็อกอะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกยึดถือโดยมัซฮับทั้ง
4 คือหะนะฟีย์ มาลิกีย์ ชาฟีอีย์
และฮับบาลีย์
ท่านอีหม่ามอัตติรมีซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สุนันอัตติรมีซีย์ ว่า
ความว่า
นักปราชญ์ส่วนมาก ได้ดำเนินอยู่กับสิ่งที่รายงานจากท่านอุมัรและท่านอะลี
และท่านอื่นๆจากบรรดาศอฮาบะห์ของท่านนบี (ซ.ล.)ว่า ละหมาดตะรอเวียะฮ์มี 20
ร็อกอะฮ์ และมันคือทัศนะชองท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ ท่านอิบนุมุบาร็อก
ท่านอีหม่ามอัชาฟีอีย์ และท่านอีหม่ามอัชชาฟีอีย์กล่าวว่า
เช่นนี้แหละที่ฉันได้พบที่เมืองมักกะฮ์ของเรา พวกเขาได้ทำการละหมาด 20 ร็อกอะฮ์
ความว่า
และฉันได้เห็นพวกเขาเหล่านั้น (ชาวมะดีนะห์) ที่นครมะดีนะห์พวกเขาได้ทำการละหมาด
39 รอกอัต และที่รักยิ่งสำหรับฉันมากที่สุดคือ 20 รอกาอัต เพราะได้รายงานจากท่านอุมัร (ร.ด)และเช่นดังกล่าวนี้พวกเขาได้ละหมาด 20 รอกาอัตที่มักกะและทำละหมาดวิติร 3 รอกาอัต (อารีฟีน แสงวิมาน: 2555,
7-8)
“แท้จริงพวกเขาละหมาดกียามในสมัยอุมัร
บุตร คอตต๊อบ (ร.ด.) ในเดือนรอมดอน ยี่สิบ รอกาอัต ”
5- การละหมาดขอฝน
صلاةالاستسقاء
คำนิยาม
คือการละหมาดที่ถูกบัญญัติขึ้นขณะฝนแล้ง หรือน้ำใต้ดินแห้งขอด
เป็นละหมาดสุนัตที่ให้กระทำขณะที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น และหมดเวลาเมื่อหมดเหตุการณ์
เช่น มีฝนตกหรือน้ำใต้ดินเริ่มไหลแล้ว
วิธีการละหมาดขอฝน
สำหรับการขอฝนที่เป็นสุนัตนั้น
มีสามวิธี
1.
อย่างน้อยที่สุด
คือการขอดุอาอ์วิงวอนไม่ว่าเวลาใด
2.
อย่างปานกลาง
ดุอาอ์ภายหลังรูกัวะ ของรอกาอัตสุดท้ายในการละหมาดฟัรดู (กูนุต) และขอดุอาอ์ภายหลังละหมาดต่างๆ
3.
อย่างสมบูรณ์
คือละหมาดขอฝน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้
3.1 ให้อีหม่ามหรือตัวแทนใช้ประชาชน
ดังนี้
- สำนึกตัว
(เตาบะห์) อย่างแท้จริง
-
ทำทานแก่คนยากไร้ และละจากการฉ้อโกงต่างๆทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยคู่พิพาท
- ถือศิลอด 4
วันติดต่อกัน
3.2 อีหม่ามนำประชาชนออกไปกลางทุ่ง
ในวันที่สี่ของการถือศิลอดในสภาพที่ถือศิลอดสวมใส่ชุดทำงานด้วยอาการสงบและถ่อมตนและให้อีหม่ามหรือตัวแทนนำประชาชนละหมาดสองร็อกอะฮ์
เหมือนละหมาดอื่น
อิบนุมายะห์ (1266)
และผู้อื่นได้รายงานจากอิบนุอับบาส (ร.ด)ได้กล่าวว่า
ความว่า
ท่านรอซูลุลเลาะห์ (ซ.ล.)ได้ออกไปอย่างสำรวม สวมเสื้อผ้าเก่า ถ่อมตน
ปล่อยตัวและนอบน้อม และได้ละหมาดสองร็อกอะฮ์เหมือนที่ละหมาดอีด
3.3 เมื่อละหมาดเสร็จแล้ว
ให้อีหม่ามแสดงคุตบะห์ในท่ามกลางประชาชนสองคุตบะห์เช่นเกียวกับสองคุตบะห์อีด
ที่ดีแล้วให้เริ่มคุตบะห์แรกด้วยการกล่าวอิสติฆฟาร 9 ครั้ง และ 7
ครั้งในคุตบะห์ที่สองแทนการกล่าวตักบีร
และเมื่อเริ่มคุตบะห์ที่สองได้ประมาณหนึ่งในสาม
ให้ผู้แสดงคุตบะห์หันหน้าไปทางกิบละห์และหันหลังให้กับผู้ที่มาละหมาด
และให้กลับผ้าคลุมโดยเอาข้างบนลงล่างและข้างล่างขึ้นข้างบน ข้างขวากลับไปด้านซ้ายและด้านซ้ายกลับไปด้านขวา
เป็นการแสดงความถ่อมตนและนอบน้อมต่ออัลเลาะห์
มีรายงานจากท่านอับบ๊าด
บิน ตะมีม จากอาของท่านว่า
رأيت النبي صلى الله عليه وسلم يوم خرج يستسقي قال: فَحَوَّلَ إلَى النَّاسِ ظَهْرَهُ وَاسْتَقْبَلَ القِبْلَةَ يَدْعُو، ثُمَّ حَوَّلَ رِدَاءَهُ ثُمَّ صَلَّى لَنَا رَكْعَتَيْنِ جَهَرَ فِيهِـمَا بِالقِرَاءَةِ
ความว่า “ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ในวันที่ท่านออกไปละหมาดอิสติสกออ์ แล้วท่านก็หันหลังให้แก่ผู้คนและหันหน้าไปทางกิบละฮฺแล้วขอดุอาอ์
แล้วพลิกกลับด้านผ้าคลุมร่างของท่าน แล้วละหมาดนำพวกเราสองร็อกอะฮฺ
โดยให้อ่านเสียงดังทั้งสองร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1025 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของท่าน
และมุสลิม เลขที่: 894)
3.4 สุนัตให้นำเด็กๆคนชรา
และสัตว์เลี้ยงออกไปยังที่ละหมาดด้วย ทั้งนี้เพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้นมันประสบกับสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด
และไม่สมควรห้าม พวกซิมมีย์ (ผู้ไร้ศรัทธาที่อยู่ในปกครองของรัฐ)
ที่จะออกไปร่วมชุมนุมด้วย (อรุณ บุญชม)
6-
การละหมาดกุสูฟและคุสูฟ
صلاةالكسوف والخسوف
กุสูฟ (สุริยุปราคา)
คือ การที่แสงตะวันถูกบังไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางวัน
คุสูฟ
(จันทรุปราคา) คือ การที่แสงจันทร์หายไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางคืน
หุก่มการละหมาดคุสูฟและกุสูฟ
การละหมาดคุสูฟและกุสูฟเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ
สำหรับมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคน ไม่ว่าจะเป็นในยามเดินทางหรือไม่ก็ตาม
เป็นละหมาดที่ถูกบัญญัติขึ้นเพราะมีสาเหตุเกิดขึ้น ที่มุสลิมใช้วิงวอนต่ออัลลอฮ์
ให้พ้นจากความเดือนร้อน และขอให้แสงสว่างกลับคืนมา
สาเหตุของการกุสูฟและคุสูฟ
“แท้จริงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้น
ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาสัญลักษณ์ของอัลลอฮ์ทั้งสองไม่ได้เกิดคราส
เพราะความตายของผู้ใด และไม่ใช่เพราะการมีชีวิตของผู้ใดเมื่อพวกท่านได้พบเหตุการณ์ดังกล่าว
พวกท่านจงละหมาดและวิงวอนดุอาอ์ จนกว่าสิ่งทีเกิดกับพวกท่านคายออก(สว่าง)”
ช่วงเวลาของการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ
เริ่มละหมาดได้เมื่อเริ่มมีปรากฏการณ์กุสูฟและคุสูฟจนกระทั่งกลับสู่สภาพปรกติ
วิธีการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ
ละหมาดสุริยคราสและจันทรคราส
มีสองร็อกอะฮ์ โดยให้ผู้จะละหมาดตั้งเจตนา ว่าเป็นการละหมาดกุสูฟ (สุริยคราส)
หรือละหมาดคุสูฟ (จันทรคราส) ซึ่งมีวิธีปฏิบัติสองแบบ
1. แบบที่พอใช้ได้
คือ ในแต่ละสองร็อกอะฮ์มีการยืนตรงสองครั้ง อ่านสองครั้ง รูกัวะสองครั้ง
เหมือนปกติไม่ต้องนาน และถือว่าใช้ได้ที่จะละหมาดดังกล่าว
สองร็อกอะฮ์โดยมีการยืนตรงสองครั้งและรูกัวะสองครั้ง เหมือนละหมาดญุมอะห์
แต่ผู้ที่ละหมาดด้วยวิธีการนี้เป็นผู้ที่ละเลยต่อสิ่งที่ดีงาม
เพราะขัดกับท่านนบีได้กระทำเป็นแบบอย่างไว้
2. ส่วนแบบที่สมบูรณ์นั้น
คือ ในแต่ละร็อกอะฮ์มีการยืนตรงสองครั้ง และอ่านยาวในขณะยืนตรงทั้งสองครั้งนั้น
โดยในการยืนตรงครั้งที่หนึ่งของร็อกอะฮ์แรกภายหลังอ่านฟาติฮะ ให้อ่านซูเราะห์อัลบะกอเราะ
หรืออ่านซูเราะอื่นที่ยาวเท่ากับซูเราะห์บากอเราะห์ และในการยืนตรงครั้งที่สอง
ให้อ่านเท่ากับสองร้อยอายะห์ ในการยืนครั้งที่หนึ่งของร็อกอะฮ์ที่สอง
ให้อ่านเทากับหนึ่งร้อยห้าสิบอายะห์ ของซูเราะห์อัลบากอเราะห์
และในการยืนตรงครั้งที่สองของร็อกอะฮ์ที่สอง
ให้อ่านเท่ากับหนึ่งร้อยอายะห์ของซูเราะบากอเราะห์
เมื่อรูกั่วะให้รูกัวะนานเท่ากับอ่านหนึ่งร้อยอายะห์โดยประมาณ
เมื่อรูกัวะครั้งที่สองให้รูกัวะนานเท่ากับแปดสิบอายะห์
และที่สามเท่ากับเจ็ดสิบอายะห์และที่สี่เท่ากับห้าสิบอายะห์
เมื่อละหมาดเสร็จแล้ว
ให้อีหม่ามแสดงคุตบะห์สองคุตบะห์ภายหลังละหมาด
เหมือนกับสองคุตบะห์วันศุกร์
อีหม่ามจะต้องเร่งเร้าประชาชนให้สำนึกตัวและทำความดี
และเตือนให้ระมัดระวังการหลงลืมในเรื่องบัญญัติศาสนา (อรุณ บุญชม:
218-219)
ลักษณะคุฏบะฮฺในการละหมาดกุสูฟ
สุนัตให้อิมามกล่าวคุฏบะฮฺหลังจากละหมาด
โดยมีเนื้อหาการสอนสั่งให้ผู้คนทำดี
และกล่าวตักเตือนให้นึกถึงปรากฎการณ์อันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นนี้เพื่อโน้มน้าวจิตใจ
แล้วใช้ให้ผู้คนดุอาและอิสติฆฺฟารฺให้มากๆ
มีรายจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า
خَسَفَتِ الشَّمْسُ فِي عَهْدِ
رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم ، فَقَامَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي،
فَأطَالَ القِيَامَ جِدّاً، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ جِدّاً، ثُمَّ
رَفَعَ رَأْسَهُ فَأطَالَ القِيَامَ جِدّاً، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ،
ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ جِدّاً، وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ،
ثُمَّ سَجَدَ.
ثُمَّ قَامَ فَأطَالَ
القِيَامَ، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ،
وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَفَعَ رَأْسَهُ فَقَامَ، فَأطَالَ
القِيَامَ، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ،
وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ سَجَدَ.
ثُمَّ انْصَرَفَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم وَقَدْ تَـجَلَّتِ الشَّمْسُ، فَخَطَبَ النَّاسَ فَحَـمِدَ الله وَأثْنَى عَلَيْـهِ، ثُمَّ قال: «إنَّ الشَّمْسَ وَالقَمَـرَ مِنْ آيَاتِ الله، وَإنَّهُـمَا لا يَنْخَسِفَانِ لِـمَوْتِ أحَدٍ وَلا لِـحَيَاتِـهِ، فَإذَا رَأيْتُـمُوهُـمَا فَكَبِّرُوا، وَادْعُوا الله وَصَلُّوا وَتَصَدَّقُوا، يَا أمَّةَ مُـحَـمَّدٍ! إنْ مِنْ أحَدٍ أغْيَرَ مِنَ الله أنْ يَزْنِيَ عَبْدُهُ أوْ تَزْنِيَ أمَتُـهُ، يَا أمَّةَ مُـحَـمَّدٍ! وَالله! لَوْ تَعْلَـمُونَ مَا أعْلَـمُ لَبَكَيْتُـمْ كَثِيرًا وَلَضَحِكْتُـمْ قَلِيلا، ألا هَلْ بَلَّغْتُ؟»
ความว่า “ได้เกิด(กุสูฟ)สุริยุปราคาขึ้นในสมัยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ท่านจึงได้ออกไปละหมาดโดยยืนละหมาดนานมาก แล้วท่านจึงรุกูอฺเป็นเวลานาน
เสร็จแล้วท่านได้เงยศรีษะและได้ยืนขึ้น แล้วยืนละหมาดนานอีก
แต่น้อยกว่าการยืนในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็รุกูอฺนานอีก แต่น้อยกว่าการรุกูอฺในครั้งแรก
หลังจากนั้นท่านก็สุญูด แล้วท่านก็ลุกขึ้นยืนละหมาดในร็อกอะฮฺที่สองนานอีก
แต่น้อยกว่าการยืนในร็อกอะฮฺแรก หลังจากนั้นท่านจึงรุกูอฺเป็นเวลานาน
เสร็จแล้วท่านได้เงยศรีษะและได้ยืนขึ้น แล้วยืนละหมาดนานอีก
แต่น้อยกว่าการยืนในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็รุกูอฺนานอีก แต่น้อยกว่าการรุกูอฺในครั้งแรก
หลังจากนั้นท่านก็สุญูด แล้วท่านจึงเสร็จละหมาด เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่นออก
หลังจากนั้นท่านก็ได้ยืนขึ้นกล่าวตัหฺมีดและชุกูรฺอัลลอฮฺ แล้วกล่าวแก่ผู้คนว่า
แท้จริงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นเป็นสัญญานแห่งความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ
ฉะนั้นการเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาไม่ใช่เกิดเพราะตายหรือการเกิดของผู้ใด
เมื่อพวกท่านเห็นมันก็จงกล่าวตักบีรฺ แล้วดุอาต่ออัลลอฮฺ
และจงละหมาดและเศาะดะเกาะฮฺ
โอ้ประชาชาติมุหัมมัดเอ๋ยไม่มีผู้ใดที่จะห่วงเกินไปกว่าอัลลอฮฺในการที่บ่าวชายของพระองค์จะซินาหรือบ่าวหญิงของพระองค์จะซินา
โอ้ประชาชาติมุหัมมัดเอ๋ย หากพวกท่านรู้ในสิ่งที่ฉันรู้แน่นอนพวกท่านย่อมร้องไห้มากและย่อมหัวเราะน้อย
โอ้ ท่านทั้งหลาย ฉันได้บอกจนประจักษ์แล้วหรือไม่ ?” (มุตตะฟะกุน
อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1044 และมุสลิม
เลขที่: 901
ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
ความเข้าใจเกี่ยวกับกุสูฟ
เป็นสิ่งที่ประจักษ์ว่าการกุสูฟนั้นทำให้จิตใจของคนโน้มเอียงไปสู่การเตาฮีดที่บริสุทธิ์
ยอมรับที่จะทำอิบาดะฮฺ ห่างไกลจากอบายมุขและบาป
ยำเกรงต่ออัลลอฮฺและกลับเข้าหาอัลลอฮฺ
1-
อัลลอฮฺได้กล่าวว่า
( ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ) [الإسراء/59].
ความว่า
“และเรามิได้ส่งสัญญานต่างๆ เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเป็นเตือนสำทับเท่านั้น” (อัล-อิสรออ์
: 59)
2- มีรายงานจากท่านอบู
มัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ได้กล่าวว่า
«إنَّ الشَّمْسَ وَالقَمَـرَ آيَتَانِ مِنْ آيَاتِ الله يُـخَوِّفُ الله بِـهِـمَا عِبَادَهُ، وَإنَّهُـمَا لا يَنْكَسِفَانِ لِـمَوتِ أَحَدٍ مِنَ النَّاسِ، فَإذَا رَأَيْتُـمْ مِنْـهُـمَا شَيْئاً فَصَلُّوا وَادْعُوا الله حَتَّى يُكْشَفَ مَا بِكُمْ»
ความว่า
“แท้จริงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นเป็นสัญญานแห่งความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ
เพื่อเป็นการเตือนสำทับบรรดาบ่าวของพระองค์
ฉะนั้นการเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาไม่ใช่เกิดเพราะตายของผู้ใด
เมื่อพวกท่านเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็จงละหมาดและขอดุอาต่ออัลลอฮฺจนกว่ามันจะหายไป”(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1041 และมุสลิม
เลขที่: 911 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
7- การละหมาดฎุฮา
صلاةالضحى
การละหมาดฎุฮา
เป็นการละหมาดที่เป็นสุนัต ซึ่งอย่างน้อยที่สุดต้องมีสองร็อกอะฮฺ และอย่างสมบูรณ์
แปด รอกาอัต
เวลาในการละหมาดฎุฮา
คือหลังจากตะวันขึ้นเท่าด้ามหอก(ประมาณหนึ่งเมตร) หมายความว่าหลังจากตะวันขึ้นประมาณสิบห้านาที
จนกระทั่งตะวันคล้อย และเวลาที่ดีที่สุดคือเมื่อแสงอาทิตย์ร้อนจัดทำให้ทรายร้อน จนเท้าของลูกอูฐร้อนและอยู่ไม่นิ่ง
หรือประมาณหนึ่งในสี่ของเวลากลางวัน
ความประเสริฐของการละหมาดฎุฮา
1- มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า
أَوْصَانِي
خَلِيلِي صلى الله عليه وسلم بِثَلاثٍ: صِيَامِ ثَلاثَـةِ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْـرٍ،
وَرَكْعَتَيِ الضُّحَـى، وَأَنْ أُوْتِـرَ قَبْلَ أَنْ أَنَـامَ.
ความว่า “ผู้เป็นที่รักยิ่งของฉัน(หมายถึงท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้สั่งเสียแก่ฉันสามอย่างด้วยกัน
คือการถือศีลอดสุนัตสามวันต่อเดือนทุกเดือน การละหมาดสองร็อกอะฮฺในเวลาฎุฮา
และการละหมาดวิตรฺก่อนที่ฉันจะนอนทุกครั้ง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1981 สำนวนนี้เป็นของท่าน
และมุสลิม เลขที่: 721)
2- มีรายงานจากท่านอบูซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า
«يُصْبِـحُ عَلَى كُلِّ سُلامَى مِنْ أحَدِكُمْ صَدَقَةٌ، فَكُلُّ تَسْبِيحَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـحْـمِيدَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـهْلِيلَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـكْبِيرَةٍ صَدَقَةٌ، وَأمْرٌ بِالمَعْرُوفِ صَدَقَةٌ، وَنَـهْيٌ عَنِ المُنْكَرِ صَدَقَةٌ، وَيُـجْزِئُ مِنْ ذَلِكَ رَكْعَتَانِ يَرْكَعُهُـمَا مِنَ الضُّحَى»
ความว่า “ทุกๆ เช้า พวกท่านเริ่มเช้าขึ้นมาด้วยหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดชอบบริจาคเศาะดะเกาะฮฺต่อ(พระคุณของอัลลอฮฺที่ทรงประทาน)กระดูกทุกข้อของพวกท่าน
ทุกครั้งที่กล่าว สุบหานัลลอฮฺ เป็นเศาะดะเกาะฮฺหนึ่ง การกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ
การกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ
การกล่าว อัลลอฮุอักบัรฺ ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ การใช้ให้ทำความดีเป็นเศาะดะเกาะฮฺ
การห้ามปรามจากความชั่วเป็นเศาะดะเกาะฮฺ และเป็นการเพียงพอจากสิ่งต่างๆ
ที่กล่าวมาด้วยการละหมาดฎุฮาเพียงสองร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 720)
8- การละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
صلاة
الاستخارة
อิสติคอเราะฮฺ คือ
การขอทางเลือกจากอัลลอฮฺในการตัดสินใจเลือกเอาสิ่งหนึ่งจากหลายๆ สิ่งที่เป็นวาญิบหรือสิ่งที่เป็นสุนัต
เมื่อมันเป็นสองสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน หรือสิ่งที่เป็นมุบาหฺ(อนุญาตให้ทำได้ทั้งสองอย่าง)เมื่อไม่รู้ว่าอย่างไหนมีประโยชน์มากกว่า
หุก่มการละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
การละหมาดอิสติคอเราะฮฺเป็นการละหมาดสุนัตฺ
ซึ่งมีสองร็อกอะฮฺ และการดุอาอ์อิสติคอเราะฮฺนั้นให้ทำก่อนสลามหรือหลังก็ได้
แต่ก่อนสลามนั้นดีกว่า และอนุญาตให้ละหมาดอิสติคอเราะฮฺได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
ในเวลาที่หลากหลาย และให้เขาทำอะไรก็ได้ที่จะทำให้ใจของเขาบริสุทธิ์ สงบ
สบายปราศจากอารมณ์ใฝ่ต่ำก่อนที่จะละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
การอิสติคอเราะฮฺ นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่สิ่งหะรอมและมักรูฮฺ
ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งสุนัต
ฉะนั้นจึงไม่น่าจะมีการเสียใจในภายหลังสำหรับคนที่ขออิสติคอเราะฮฺจากอัลลอฮฺและขอคำปรึกษาจากมนุษย์แล้ว
ก่อนจะตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังที่อัลลอฮฺกล่าวว่า
(ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ )
[آل عمران/159]
ความว่า “และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย
ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้วก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮฺเถิด” (อาล
อิมรอน : 159)
ลักษณะการอิสติคอเราะฮฺ
มีรายงานจากท่านญาบิรฺ
เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
كَانَ النَّبِيُّ صلى الله
عليه وسلم يُـعَلِّمُنَا الاسْتِـخَارَةَ فِي الأُمُورِ كُلِّهَا كَالسُّورَةِ
مِنَ القُرْآنِ: «إذَا هَـمَّ أَحَدُكُمْ بِالأَمْرِ، فَلْيَرْكَعْ رَكْعَتَيْنِ
مِنْ غَيْرِ الفَرِيضَةِ ثُمَّ يَـقُولُ: «اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْتَـخِيرُكَ
بِـعِلْـمِكَ، وَأَسْتَقْدِرُكَ بِقُدْرَتِكَ، وَأَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ
العَظِيمِ، فَإنَّكَ تَقْدِرُ وَلا أَقْدِرُ، وَتَعْلَـمُ وَلا أَعْلَـمُ،
وَأَنْتَ عَلَّامُ الغُيُوبِ، اللَّهُـمَّ إنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا
الأَمْرَ خَيْرٌ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي وَعَاقِبَةِ أَمْرِي -أَوْ قَالَ: فِي
عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- قَاقْدُرْهُ لِي.
وَإنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ شَرٌّ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي، وَعَاقِبَةِ أَمْرِي -أَوْ قَالَ فِي عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- فَاصْرِفْهُ عَنِّي وَاصْرِفْنِي عَنْـهُ، وَاقْدُرْ لِيَ الخَيْرَ حَيْثُ كَانَ، ثُمَّ رَضِّنِي بِـهِ، وَيُسَمِّي حَاجَتَـهُ»
ความว่า “ปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สอนพวกเราเกี่ยวกับอิสติคอเราะฮฺในทุกๆ
เรื่องเหมือนสอนสูเราะฮฺหนึ่งในอัลกุรอาน
(เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านปรารถนาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว
เขาจงละหมาดสองร็อกอะฮฺซึ่งไม่ใช่ละหมาดวาญิบแล้วให้กล่าวว่า
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْتَـخِيرُكَ بِـعِلْـمِكَ، وَأَسْتَقْدِرُكَ بِقُدْرَتِكَ، وَأَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ العَظِيمِ، فَإنَّكَ تَقْدِرُ وَلا أَقْدِرُ، وَتَعْلَـمُ وَلا أَعْلَـمُ، وَأَنْتَ عَلَّامُ الغُيُوبِ، اللَّهُـمَّ إنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ خَيْرٌ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي وَعَاقِبَةِ أَمْرِي-أَوْ قَالَ: فِي
عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- قَاقْدُرْهُ لِي. وَإنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ شَرٌّ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي، وَعَاقِبَةِ أَمْرِي -أَوْ قَالَ فِي عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- فَاصْرِفْهُ عَنِّي وَاصْرِفْنِي عَنْـهُ، وَاقْدُرْ لِيَ الخَيْرَ حَيْثُ كَانَ، ثُمَّ رَضِّنِي بِـهِ»
ความหมายดุอาอ์ โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอให้พระองค์ช่วยเลือกสิ่งที่ดีด้วยความรอบรู้ของพระองค์
และขอให้พระองค์บันดาลให้ข้าพระองค์มีความสามารถที่จะลงมือทำ ด้วยพระเดชานุภาพของพระองค์ และข้าพระองค์วิงวอนต่อพระองค์จากพระมหากรุณาอันใหญ่หลวงของพระองค์
(ให้เปิดใจเพื่อคุณธรรมความดีด้วยเถิด) แน่แท้พระองค์ทรงมหาอำนาจ ข้าพระองค์ไม่มีอำนาจใดๆ เลย พระองค์ทรงรอบรู้ยิ่ง ส่วนข้าพระองค์ไม่มีความรู้อะไรเลย พระองค์ทรงไว้ซึ่งความรอบรู้ยิ่งในสิ่งเร้นลับทั้งหลาย โอ้
อัลลอฮฺ หากพระองค์ทรงทราบว่านี้...(กล่าวชื่อของงาน เป็นภาษาใดก็ได้) เป็นส่วนดีแก่ข้าพระองค์
ในการศาสนาของข้าพระองค์
และในการครองชีพ
ของข้าพระองค์ และในอวสานแห่งงานของข้าพระองค์แล้ว (ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล) ดังนั้น
ขอพระองค์กำหนดงานนั้นให้ข้าพระองค์และให้มันสะดวก ง่ายดายแก่ข้าพระองค์แล้วขอประทานความศิริมงคลในงานนี้ให้แก่ข้าพระองค์ด้วย แต่ถ้าพระองค์ทรงรู้ว่างานนี้เป็นผลร้ายแก่ข้าพระองค์
ในการศาสนาของข้าพระองค์ และในการครองชีพของข้าพระองค์ และในตอนสุดท้ายแห่งงานของข้าพระองค์แล้ว
(ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล) ขอพระองค์ได้ทรงโปรดให้งานนี้หลีกพ้นไปจากข้าพระองค์ด้วย
และขอให้ข้าพระองค์รอดพ้นจากนี้ด้วยเถิด และขอพระองค์ทรงบันดาลความดีให้แก่ข้าพระองค์
ไม่ว่าสถานใด แล้วขอได้ทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ข้าพระองค์ในงานนั้นๆ ด้วย
โดยให้กล่าวถึงสิ่งที่เขาปรารถนาจะเลือก”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6382)
บรรณานุกรม
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์ ,การละหมาดตะเฏาวุอฺ (ละหมาดสุนัต)
อรุณ บุญชม. อัลฟิกฮฺ (นิติศาสตร์อิสลาม). เล่มที่ 1
อยากได้เป็นคู่มือสำหรับการละหมาดสุนัตประเภทต่างๆ
ตอบลบ