الصلاة
เรื่องการละหมาด
ความหมายในทางภาษา : เป็นการขอพรให้ได้ความดีงาน
ความหมายในทางศาสนา : ถ้อยคำและการกระทำต่างๆที่ถูกกำหนดไว้แน่นอนแล้ว
เริ่มด้วยการตักบีรและสิ้นสุด ที่สลาม
หิกมะฮฺ(เคล็ดลับ)ที่ได้บัญญัติการละหมาด
1. เป็นการเตือนให้มนุษย์รู้จักตนเองว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกรเพื่อระลึกได้ตลอดไป
2. เพื่อให้ฝังแน่นอยู่ในใจของมนุษย์ว่าไม่มีผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือและให้ความสุขที่แท้จริงนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น
3. มนุษย์จะได้ใช้ละหมาดเป็นช่วงเวลาของการสำนึกผิดจากความผิดต่างๆที่เขาได้ก่อขึ้น
4. ละหมาดจะเป็นเหมือนอาหารที่หล่อเลี้ยงหลักศรัทธา
ที่อยู่ในจิตใจ
ความเพลิดเพลินในดุนยาและการลวงล่อของชัยตอนจะทำให้มนุษย์หลงลืมหลักอากีดะห์นี้
แต่สำหรับมุสลิมที่ยืนหยัดปฏิบัติละหมาดอย่างสม่ำเสมอ ละหมาดนั้นจะ เป็นอาหารคอยหล่อเลี้ยงความมีศรัทธาของเขาให้สดชื่อและงอกงาม
ความเพลิดเพลินในโลกดุนยาไม่อาจทำให้ศรัทธาของเขาอ่อนแอลงและตายได้
5. การละหมาดเป็นสิ่งยับยั้งจากการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย
และยังเป็นเหตุในการลบล้างความผิดทั้งปวง
มีรายงานจากท่านอบู
ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)ว่าท่านได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)
กล่าวว่า
«أَرَأيْتُـمْ لَو أَنَّ نَـهراً بِبَابِ أَحَدِكُمْ يَـغْتَسِلُ مِنْـهُ كُلَّ يَومٍ خَـمْسَ مَرّاتٍ هَلْ يَبْقَى مِنْ دَرَنِـهِ شَيْءٌ؟» قَالُوا: لا يَبْقَى مِنْ دَرَنِـهِ شَيْءٌ. قَالَ:
«فَذَلِكَ مِثْلُ الصَّلَوَاتِ الخَـمْسِ، يَـمْـحُو الله بِـهِنَّ الخَطَايَا».
ความว่า “พวกท่านจะเห็นว่าอย่างไร
หากมีลำธารไหลผ่านประตูหน้าบ้านคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่าน
ซึ่งเขาได้ลงอาบน้ำในลำธารดังกล่าวทุกๆ วัน วันละห้าครั้ง แล้วจะเหลือขี้ไคลติดอยู่บนร่างกายเขาอีกหรือ?” บรรดาเศาะหาบะฮฺได้กล่าวว่า
ไม่แน่นอนย่อมไม่เหลือขี้ไคลติดอยู่บนร่างกายเขาแน่นอน แล้วท่าน
(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ก็กล่าวต่อไปว่า “เฉกเช่นลำธารนั้นแหละ
คือการเปรียบละหมาดห้าเวลา ที่อัลลอฮฺได้ใช้มันลบล้างความผิดทั้งปวง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ :
528 และมุสลิม เลขที่: 667 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
2. เพื่อให้ฝังแน่นอยู่ในใจของมนุษย์ว่าไม่มีผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือและให้ความสุขที่แท้จริงนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น
4. ละหมาดจะเป็นเหมือนอาหารที่หล่อเลี้ยงหลักศรัทธา
ที่อยู่ในจิตใจ
ความเพลิดเพลินในดุนยาและการลวงล่อของชัยตอนจะทำให้มนุษย์หลงลืมหลักอากีดะห์นี้
แต่สำหรับมุสลิมที่ยืนหยัดปฏิบัติละหมาดอย่างสม่ำเสมอ ละหมาดนั้นจะ เป็นอาหารคอยหล่อเลี้ยงความมีศรัทธาของเขาให้สดชื่อและงอกงาม
ความเพลิดเพลินในโลกดุนยาไม่อาจทำให้ศรัทธาของเขาอ่อนแอลงและตายได้
หุก่มของการละหมาด
การละหมาดห้าเวลาของทุกวันคืนนั้นเป็นสิ่งที่วาญิบ(สิ่งจำเป็นต้องทำ)สำหรับมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ
ทุกคน ทั้งชายและหญิง
เว้นแต่หญิงที่มีประจำเดือนและมีน้ำคาวปลาจนกว่าเธอทั้งสองจะสะอาดจากเลือดดังกล่าว
อีกทั้งการละหมาดยังเป็นองค์ประกอบหลักของอิสลามที่สำคัญยิ่งรองจากคำปฏิญาณทั้งสองอีกด้วย
1. อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า
[النساء/ 103] إِنَّ الصَّلَاةَ كَانَتْ عَلَى
الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَّوْقُوتًا
ความว่า “แท้จริงการละหมาดนั้น
เป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธา” (อันนิสาอ์ 103)
2. มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา)ว่า
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
«بُنِيَ الإسْلامُ عَلَى خَـمْسٍ: شَهَادَةِ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا
الله، وَأَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ، وَإقَامِ الصَّلاةِ،
وَإيْتَاءِ الزَّكَاةِ، وَحَجِّ البَيْتِ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ».
ความว่า “อิสลามนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลักห้าองค์ประกอบคือการให้คำปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺการให้คำปฏิญาณว่ามุหัมหมัดนั้นเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์
การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การทำหัญจ์ที่บัยตุลลอฮฺ
และการถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ
โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 8 และมุสลิม
เลขที่: 16 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
ความสำคัญของการละหมาด
มีรายงานจากท่านอบู
ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านนบี
(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า
«إنَّ أَوَّلَ مَا يُـحَاسَبُ بِـهِ العَبْدُ يَوْمَ القِيَامَةِ
صَلاتُـهُ، فَإنْ وُجِدَتْ تَامَّةً كُتِبَتْ تَامَّةً، وَإنْ كَانَ انْتَقَصَ
مِنْـهَا شَيْءٌ، قَالَ: انْظُرُوا هَلْ تَـجِدُوْنَ لَـهُ مِنْ تَطَوُّعٍ
يُكَمِّلُ لَـهُ مَا ضَيَّعَ مِنْ فَرِيضَةٍ مِنْ تَطَوُّعِهِ، ثُمَّ سَائِرُ
الأَعْمَالِ تَـجْرِي عَلَى حَسَبِ ذَلِكَ»
ความว่า “แท้จริงสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบถามในวันกิยามะฮฺจากการงานของพวกเขา
ก็คือ การละหมาด หากพบว่าการละหมาดของเขาสมบูรณ์
เขาก็จะถูกประทับตรารับรองว่าสมบูรณ์ แต่หากการละหมาดของเขาบกพร่องส่วนหนึ่งส่วนใด
อัลลอฮฺจะตรัสแก่มลาอิกะฮฺ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเจ้าจงดูซิว่า
บ่าวของข้าคนนี้มีละหมาดสุนนะฮฺบ้างไหม? หากว่าเขามีละหมาดสุนนะฮฺ
ก็จงทำให้การละหมาดฟัรฎูของของบ่าวผู้นี้สมบูรณ์ด้วยการละหมาดสุนนะฮฺของเขา
แล้วกิจการงานอื่น ๆ ก็จะถูกสอบสวนในทำนองนี้" (เป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ
บันทึกโดยอันนะสาอียฺ เลขที่:564 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ
เลขที่: 1425)
จำนวนรอกาอัตและเวลาของการละหมาด
1) ละหมาดซุบฮ์ : ละหมาดมี 2 รอกาอัต เข้าเวลาเมื่อแสงอรุณจริงขึ้นและคงอยู่เรื่อยไปจะตะวันขึ้น
2) ละหมาดดุฮร์ : ละหมาดมี 4 รอกาอัต
เริ่มตั้งแต่ตะวันคล้อยจากกึ่งกลางฟ้าไปทางทิศตะวันตก(โดยจะปรากฏมีเงาเกิดขึ้นแก่ทุกสิ่งไปทางทิศตะวันออก)
จะกระทั้งเงาของสิ่งหนึ่งยาวเท่าตัวของมัน
3) ละหมาดอัสร์ : ละหมาดมี 4 รอกาอัต
เริ่งเข้าเวลาเมื่อหมดเวลาดุฮร์ จนกระทั้งตะวันตก
4) ละหมาดมักริบ : ละหมาดมี 3 รอกาอัต
เริ่มเข้าเวลาเมื่อตะวันตก และยาวเรื่อยไปจนแสงแดงที่ขอบฟ้าหายไป
และไม่หลงเหลือร่องรอยใดๆของมันทางทิศตะวันตก
5) ละหมาดอิชาอ์ : ละหมาดมี 4 รอกาอัต
เริ่มเข้าเวลาเมื่อหมดเวลามักริบและจะยาวเรื่อยไปจนแสงอรุณจริงปรากฏ
และที่ดีจะต้องไม่ร่นละหมาดอิชาอ์ออกไปจนพ้นหนึ่งในสามส่วนแรกของกลางคืน
เงื่อนไขของละหมาดที่มีผลใช้ได้ (شروط
الصلاة)
เงื่อนไขของสิ่งหนึ่ง คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการมีสิ่งนั้น
แต่เงื่อนไขไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนั้น
ดังนั้นเงื่อนไขของละหมาดตามมัซฮับชาฟีอี พอสรุปได้ดังนี้
1. ผู้ละหมาดต้องเป็นมุสลิมที่สะอาดปราศจากหะดัษเล็ก และหะดัษใหญ่
2. ร่างกาย เครื่องแต่งกายและสถานที่ละหมาดต้องสะอาดปราศจากนะญิสทั้งหลาย
3. ต้องเข้าเวลาละหมาดแล้ว
4. ต้องส่วมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด
5. ต้องหันหน้าไปทางกิบละฮ
เงื่อนไขของสิ่งหนึ่ง คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการมีสิ่งนั้น
แต่เงื่อนไขไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนั้น
ดังนั้นเงื่อนไขของละหมาดตามมัซฮับชาฟีอี พอสรุปได้ดังนี้
﴿أركان الصلاة﴾รุกุ่นละหมาด
รุก่น หรือ องค์ประกอบต่างๆ
ของการละหมาดนั้นหมายถึงสิ่งที่ต่างๆซึ่งต้องมีในการละหมาดและการละหมาดจะใช้ไม่ได้หากปราศจากสิ่งเหล่านี้
มีทั้งหมด 13 ประการคือ
1. เนียต (การตั้งเจตนา) คือการมุ่งสู่สิ่งหนึ่งพร้อมกับลงมือกระทำ ที่ที่ใช้ในการเนียตคือ หัวใจ
2. ยืนตรง สำหรับผู้ที่มีความสามารถยืนได้ในละหมาดฟัรดู
และเมื่อผู้ที่ละหมาดมีความสามารถยืนได้ในบางส่วนของละหมาด
และไม่สามารถยืนได้ในส่วนที่เหลือ
ก็ให้เขายืนละหมาดในส่วนที่เขามีความสามารถและนั่งละหมาดในส่วนที่เหลือ
มิเช่นนั้นแล้วละหมาดจะใช้ไม่ได้ เงื่อนไขนี้ใช้เฉพาะละหมาดฟัรดูเท่านั้น
ส่วนละหมาดสุนัต
การยืนถือเป็นสุนัตคือยินยอมให้นั่งละหมาดได้แต่ผลบุญจะได้แค่ครึ่งหนึ่งของการยืน
3. ตักบีเราะตุลอิหรอม
คือการกล่าวคำว่า اللَّهُ أَكْبَرُ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
2.1 ต้องตักบีรขณะยืน
2.2 ต้องตักบีรในสภาพที่หันหน้าไปทางกิบละห์
2.3 ต้องกล่าวตักบีรเป็นภาษาอาหรับเท่านั้น
2.4 จะต้องให้ตนเองได้ยินคำตักบีรด้วยทุกตัวอักษร
2.5 จะต้องตักบีรพร้อมเนียต
4.
อ่านฟาติหะฮฺในทุกรอกกาอัต "ไม่มีการละหมาดแก่ผู้ที่ไม่อ่านฟาติฮะ"
และบิสมิลลาห์...เป็นอายะห์หนึ่งของฟาติฮะห์ และจะต้องอ่านให้ตนเองได้ยิน
และถูกต้องตามหลักการอ่านด้วย
5. รุกูอฺ ตามบัญญัติศาสนาหมายถึง
การที่ผู้ละหมาดก้มลงเท่าที่เขาจะสามารถก้มได้
โดยให้ฝ่ามือทั้งสองข้างถึงหัวเข่าทั้งสองข้างของเขา ถือว่าใช้ได้
ส่วนการรุกูอ์ที่สมบูรณ์ก็คือเขาจะต้องก้มลงให้แผ่นหลังเสมอกันเป็นแนวตรง พร้อมกับการมีตอมะนีนะห์ (คือ สงบในท่าก้มนานเท่าการตัสเบียะห์ครั้งหนึ่ง)
6.
เงยศีรษะจากรุกูอฺมายืนตรง(อิอฺติดาล) คือการเงยจากรูกุอ์มาหยุดนิ่ง เพื่อแยกรูกุอ์ออกจากสุหยูด
7.
สุหยูดสองครั้งทุกรอกาอัต หมายถึง
หน้าผากของผู้ละหมาดวางอยู่บนพื้นที่ใช้สูหยูด พร้อมกับอวัยวะทั้ง 7 และต้องมีตอมะนีนะห์ด้วย
การที่ผู้ละหมาดสูหยุดลงบนผ้าที่ติดอยู่กับตัวผู้ละหมาดถือว่าการสูหยุดใช้ไม่ได้
8. นั่งระหว่างสองสุญูด
พร้อมกับ มีตอมะนีนะห์ (สงบนิ่ง)
9.
นั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย คือการนั้งในรอกาอัตสุดท้ายของละหมาด
10. อ่านตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย ในการอ่านตะชะฮุดควรระมัดระวังดังนี้
- อ่านให้ตนเองได้ยิน
- อ่านขณะที่นั่ง
- ต้องอ่านเป็นภาษาอาหรับ
และออกเสียงอย่างชัดเจน
- ต้องอ่านต่อเนื่องกัน
11.
อ่านเศาะละวาตหลังจากตะชะฮุดครั้งสุดท้าย อย่างน้อยของคำที่ใช้เศาะลาวาตคือ اَللَّهُمَّ صَلِّ عَليَ مُحَمَّدٍ และถ้อยคำที่สมบูรณ์คือ اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلىَ
مُحَمَّدٍ وَعَلىَ آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَلىَ إِبْرَاهِيْمَ وَعَلىَ آلِ
إِبْرَاهِيْمَ وَبَارِكْ عَلىَ مُحَمَّدٍ وَعَلىَ آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ
عَلىَ إِبْرَاهِيْمَ وَعَلىَ آلِ إِبْرَاهِيْمَ فِيْ الْعَالَمِيْنَ إِنَّكَ
حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
12. กล่าวสลาม คือการหันหน้าไปทางขวาพร้อมกล่าวว่า السَّلاَمُ
عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ
13. เรียงลำดับในการปฏิบัติตามขั้นตอนขององค์ประกอบของการละหมาด
หุก่มสำหรับผู้ที่ปฏิเสธการเป็นวาญิบของการละหมาดหรือผู้ที่ละทิ้งการละหมาด
สำหรับผู้ที่ทิ้งละหมาด
โดยปฏิเสธว่าละหมาดไม่ได้เป็นหน้าที่ที่จำเป็น (วายิบ)
สำหรับเขาหรือโดยดูหมิ่นละหมาด เขาจะเป็นกาฟิร และหลุดพ้นออกจากอิสลาม
และผู้ที่มีอำนวจจำเป็นจะต้องให้เขากลับตัวเสียใหม่
ถ้าหากเขายอมกลับตัวและปฏิบัติละหมาดก็ยอมรับการกลับตัวของเขา แต่ถ้าหากเขาไม่ยอมกลับตัว
เขาจะต้องถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต ในฐานะที่หลุดพ้นออกจากอิสลาม (มุรตัด)
ไม่อนุญาตให้อาบน้ำศพของเขา ห่อศพ และละหมาดให้
ส่วนผู้ที่ทิ้งละหมาดเพราะความขี้เกียจ
แต่ยะงคงยึดมั่นว่าละหมาดเป็นหน้าที่ที่จำเป็น (วายิบ) สำหรับเขา เขาจะต้องถูกบังคับจากผู้มีอำนาจให้ชดใช้ละหมาดที่ทิ้งไปและต้องกลับตัว
จากความผิดที่ทิ้งละหมาด และถ้าหากเขาไม่ยอมชดใช้ละหมาดที่ทิ้งไป
เขาจะต้องถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต แต่มีโทษไม่ถึงกับตกมุรตัด
1. อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า
فَإِن تَابُوا وَأَقَامُوا الصَّلَاةَ
وَآتَوُا الزَّكَاةَ فَإِخْوَانُكُمْ فِي الدِّينِ [التوبة/11].
ความว่า “แล้วหากพวกเขาสำนึกผิดกลับตัว
และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาตแล้วไซร้
พวกเขาก็เป็นพี่น้องของพวกเจ้าในศาสนา
และเราจะแจกแจงบรรดาโองการไว้แก่กลุ่มชนที่รู้” (อัตเตาบะฮฺ 11)
2. มีรายงานจากท่านญาบิรฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่าแนได้ยินท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
«إنَّ بَيْنَ الرَّجُلِ، وَبَيْنَ الشِّرْكِ وَالكُفْرِ تَرْكَ الصَّلاةِ»
ความว่า“แท้จริงสิ่งแยกแยะระหว่างชายคนหนึ่งกับการตั้งภาคีและการปฏิเสธต่ออัลลอฮฺนั้นคือการขาดละหมาด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 82)
3. และมีรายงานจากท่านอิบนุอับบาส(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา)กล่าวว่าท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า
«مَنْ بَدَّلَ دِيْنَـهُ فَاقْتُلُوهُ»
ความว่า“ผู้ใดเปลี่ยนจากศาสนาของเขา
พวกท่านจงดำเนินการประหารเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ
หมายเลข 3017)
2. มีรายงานจากท่านญาบิรฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่าแนได้ยินท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
3. และมีรายงานจากท่านอิบนุอับบาส(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา)กล่าวว่าท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า
หุก่มต่างๆ
เกี่ยวกับการละหมาดโดยมีอิมาม
เป็นสิ่งวาญิบที่มะอ์มูม(ผู้ละหมาดตามอิมาม)จะต้องตามอิมามในการละหมาดของทุกขั้นตอน
ทั้งนี้เนื่องจากตำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«إنَّمَا جُعِلَ الإمَامُ لِيُؤْتَـمَّ بِـهِ، فَإذَا كَبَّرَ فَكَبِّرُوْا، وإذَا رَكَعَ فَارْكَعُوا، وَإذَا قَالَ: سَمِعَ الله لِـمَنْ حَـمِدَهُ، فَقُولُوا: اللَّهُـمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ، وَإذَا صَلَّى قَائِماً فَصَلُّوا قِيَاماً، وَإذَا صَلَّى قَاعِداً فَصَلُّوا قُعُوداً أَجْـمَعُونَ»
ความว่า “แท้จริงการตั้งให้มีอิมามนำละหมาดนั้น
เพื่อให้เขาถูกตาม ดังนั้นเมื่ออิมามรุกูอฺ พวกท่านก็จงรุกูอฺตาม
เมื่ออิมามเงยขึ้นพวกท่านก็จงเงยขึ้นตาม และเมื่ออิมามกล่าว
สะมิอัลลอฮุลิมันหะมิดะฮฺ พวกท่านจงกล่าวว่า ร็อบบะนาวะละกัลหัมดฺ
เมื่ออิมามละหมาดในท่านั่ง พวกท่านทั้งหมดก็จงนั่งละหมาดด้วย” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 722 และมุสลิม เลขที่: 417 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
หุก่มการแซงหน้าอิมามของมะอ์มูม
หะรอมการ(มุสาบะเกาะฮฺ)แซงหน้าอิมามในการละหมาด
(คือการปฏิบัติอิริยาบทต่างๆ ในละหมาดก่อนที่อิมามจะทำ)
สำหรับผู้ที่แซงหน้าอิมามโดยรู้และเจตนา การละหมาดของเขาจะใช้ไม่ได้
ส่วนการ(ตะค็อลลุฟ)ตามอิมามไม่ทันนั้น
หากตามไม่ทันเนื่องด้วยเหตุสุดวิสัย เช่น เนื่องจากการลืม
เผลอหรือไม่ได้ยินอิมามจนกระทั่งอิมามได้ทิ้งห่างไป
เขาจะต้องรีบปฏิบัติตามในสิ่งที่ไม่ทันอิมามนั้นในทันที
จนกระทั่งตามทันและตามต่อไปจนจบ โดยไม่เป็นความผิดแต่อย่างใดสำหรับเขา
สภาพของมะอ์มูมกับอิมาม
สำหรับสภาพมะอ์มูมกับอิมามนั้นมี 4 กรณีด้วยกัน คือ
1- กรณี(มุสาบะเกาะฮฺ)การแซงหน้า คือการที่มะอ์มูมนำหน้าอิมามในการตักบีรฺ รุกูอฺ
สุญูด สะลามหรืออื่นๆ ซึ่งในกรณีนี้ไม่เป็นที่อนุญาต ผู้ใดที่กระทำเช่นนี้
เขาจะต้องย้อนกลับไปตามอิมามใหม่ หากมิฉะนั้นการละหมาดของเขาจะใช้ไม่ได้
2- กรณี(มุวาฟะเกาะฮฺ)การพร้อมเพรียงกัน คือความพร้อมเพรียงในการเคลื่อนไหวของอิมามและมะอ์มูม
ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบหลัก เช่น การตักบีรฺ หรือรุกูอฺ เป็นต้น
ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นมักรูฮฺ
ยกเว้นหากกล่าวตักบีเราะตุลอิหฺรอมพร้อมกันกับอิมามก็จะถือว่าการละหมาดของมะอ์มูมนั้นใช้ไม่ได้
3- กรณี(มุตาบะอะฮฺ)การตามติด คือการกระทำของมะอ์มูมจะเกิดขึ้นหลังจากอิมามได้กระทำไปแล้วติดๆ
นี่คือการกระทำที่จำเป็นสำหรับมะอ์มูม
ซึ่งอันนี้แหละที่ถือว่าเป็นการตามอิมามที่ถูกต้องตามหลักชะรีอะฮฺ
4- กรณี(มุคอละฟะฮฺ)การทิ้งห่าง คือการที่มะอ์มูมตามอิมามช้าเกินไปจนอิมามทิ้งห่างไปกระทำองค์ประกอบหลักองค์ประกอบอื่นไปแล้ว
การกระทำอย่างนี้ถือว่าเป็นสิ่งไม่อนุญาต เพราะไม่ถือว่าเป็นการตาม
ผู้ใดที่เข้าไปในมัสญิดหนึ่ง
ปรากฏว่าตัวเองไม่ทันละหมาดพร้อมอิมามในญะมาอะฮฺชุดแรก
ก็วาญิบที่เขาและผู้ที่มาสายเหมือนกับเขาต้องร่วมกันละหมาดญะมาอะฮฺชุดที่สอง
แต่ความประเสริฐของญะมาอะฮฺครั้งที่สองนี้ก็จะไม่เท่าความประเสริฐของญะมาอะฮฺครั้งแรก
สภาพของผู้ที่(มัสบูก)มาสายและเข้ามาละหมาดตามอิมามโดยที่อิมามละหมาดไปก่อนหน้าแล้ว
1- ผู้ใดที่ทันร็อกอะฮฺแรกพร้อมอิมามถือว่าเขามาทันญะมาอะฮฺนั้นอย่างสมบูรณ์
และผู้ใดทันรุกูอฺพร้อมอิมามก็ถือว่าเขามาทันร็อกอะฮฺนั้นอย่างสมบูรณ์ โดยให้เขากล่าวตักบีเราะตุลอิหฺรอมในสภาพยืนตรงแล้วจึงกล่าวตักบีรฺเพื่อรุกูอฺหากมีเวลาทำอย่างนั้น
แต่ถ้าไม่มีเวลาให้ตั้งเจตนาทำสองตักบีรฺรวมกันครั้งเดียว
2- ผู้ใดเข้ามาละหมาดแล้วพบว่าอิมามอยู่ในสภาพยืน
รุกูอฺ สุญูด หรือนั่ง ให้เขาเข้าละหมาดกับอิมามตามสภาพเหล่านั้นเลย เขาจะได้ผลบุญการญะมาอะฮฺตามสภาพที่ได้กระทำไป
แต่ร็อกอะฮฺนั้นจะนับว่าได้หนึ่งร็อกอะฮฺก็ต่อเมื่อเขาทันรุกูอฺพร้อมอิมาม
ส่วนกรณีที่จะถือว่าทันตักบีเราะตุลอิหฺรอมพร้อมอิมามนั้น ก็คือตราบใดที่อิมามยังไม่ทันได้อ่านฟาติหะฮฺเท่านั้น
ลักษณะการชดของมะอ์มูมในร็อกอะฮฺที่ขาดไป
1- ผู้ใดที่ทันละหมาดพร้อมอิมามได้หนึ่งร็อกอะฮฺจากการละหมาดซุฮฺริ
อัศริ หรืออิชาอ์
หลังจากอิมามให้สะลามแล้ววาญิบให้เขาชดสามร็อกอะฮฺด้วยกันโดยลุกขึ้นเพิ่มร็อกอะฮฺแรกด้วยการอ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺอื่นๆ
แล้วนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรก แล้วต่อจากนั้น
เพิ่มอีกสองร็อกอะฮฺด้วยการอ่านเฉพาะฟาติหะฮฺเท่านั้น
แล้วนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย แล้วให้สะลาม ฉะนั้นในทุกๆ
ขั้นตอนที่มะอ์มูม(ที่มัสบูก)ได้ทันละหมาดพร้อมๆ
อิมามจะถือว่าเป็นขั้นตอนแรกสำหรับการละหมาดของเขา
2- ผู้ใดที่ทันละหมาดพร้อมอิมามหนึ่งร็อกอะฮฺจากการละหมาดมัฆฺริบ
หลังจากอิมามให้สะลามแล้วให้เขาลุกขึ้นเพิ่มร็อกอะฮฺแรกด้วยการอ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺอื่น
แล้วนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรก แล้วต่อจากนั้น
เพิ่มอีกหนึ่งร็อกอะฮฺด้วยการอ่านเฉพาะฟาติหะฮฺเท่านั้น
แล้วนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย แล้วให้สะลามเหมือนในกรณีที่แล้ว
3- ผู้ใดที่ทันละหมาดพร้อมอิมามหนึ่งร็อกอะฮฺจากการละหมาดศุบห์หรือญุมุอะฮฺ
หลังจากอิมามให้สะลามแล้วให้เขาลุกขึ้นเพิ่มหนึ่งร็อกอะฮฺ
ด้วยการอ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺอื่น แล้วนั่งตะชะฮฺฮุด
แล้วให้สะลามเหมือนในกรณีที่แล้ว
4- หากผู้ใดผู้หนึ่งเข้ามาในขณะที่อิมามกำลังนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย
ตามสุนนะฮฺแล้วให้เขาเข้าละหมาดพร้อมอิมามเลย หลังจากอิมามให้สะลามแล้ว
ให้ลุกขึ้นทำการละหมาดของเขาให้เสร็จสมบูรณ์
สุนัตต่างๆของการละหมาด
ก. สุนัตก่อนละหมาด
1.
อาซาน
2. อิกอมะห์
3. วางเครื่องกั้นข้างหน้าผู้ละหมาด
ข. สุนัตขณะละหมาด
1. สุนัตอับอาด คือ สิ่งที่เมื่อละทิ้งหรือไม่ได้ปฏิบัติให้ชดเชยด้วยสุหยุดซะห์วีตอนท้ายได้แก่
1.1 ตะชะฮุดครั้งแรก
1.2 ซอลาวาตนบี หลังจากตะชะฮุดครั้งแรก
1.3 นั่งตะชะฮุดครั้งแรก
1.4 ซอลาวาตแก่วงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล)
หลังตะชะฮุดครั้งสุดท้าย
1.5 ดุอาร์กูนุต ของละหมาดศุบฮี
2. สุนัตฮัยอาต คือ สิ่งที่เมื่อละทิ้ง
หรือไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ต้องชดเชยด้วยการสุหยุดซะห์วี ได้แก่
2.1
ยกมือทั้งสองข้างขณะตักบีรอตุลเอียะรอม ขณะรูกุอ์ และขณะเอี๊ยะติดาล
2.2
วางมือขวาทับหลังมือซ้ายในขณะยืน
2.3
มองสถานที่สูหยุด
2.4
อ่านดุอาร์อิฟติตาห์ หลังจากตักบีรอตุลเอียะรอม
2.5 อิสติอาซะห์
ภายหลังอ่านดุอาร์อิฟติตาห์
2.6
อ่านดังในที่ให้ดัง และอ่านค่อยในที่ให้ค่อย
2.7 กล่าว “อามีน”
หลังจบฟาติฮะ
2.8 อ่านบางส่วนจากอัลกุรอ่านหลังฟาติฮะ
2.9
ตักบีรขณะเปลี่ยนอาการต่างๆ
2.10
ตัสเบี๊ยะขณะรุกุอ์และสูหยุด
2.11
วางมือทั้งสองข้างบนต้นขาอ่อนทั้งสอง ในการนั้งตะชะฮุดทั้งสองครั้ง
2.12 ตะวัรรุกในการนั่งครั้งสุดท้าย
และอิฟติรอชในการนั้งนอกจากนั้น
2.13
ซอลาวาตอิบรอฮีมียะห์ ดุอาร์หลังตะชะฮุดครั้งสุดท้าย
2.14
กล่าวสลามครั้งที่สอง
ค. สุนัตหลังละหมาด
1. อิสติฆฟาร ซิเกร
และดุอาร์ เช่น
«أَسْتَغْفِرُ الله،
أَسْتَغْفِرُ الله،
أَسْتَغْفِرُ الله»
ความหมาย
“ฉันขออภัยต่ออัลลอฮฺ ฉันขออภัยต่ออัลลอฮฺ ฉันขออภัยต่ออัลลอฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข
591)
หลังจากนั้นให้กล่าวว่า
«اللَّهُـمَّ أَنْتَ
السَّلامُ، وَمِنْكَ السَّلامُ، تَـبَارَكْتَ يَاذَا الجَلالِ وَالإكْرَام»
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ พระองค์คืออัส-สลาม(ผู้เปี่ยมด้วยสันติ)
จากพระองค์นั้นคือที่มาของสันติ ประเสริฐยิ่งเถิด
โอ้ผู้เปี่ยมด้วยความยิ่งใหญ่และบุญคุณอันล้นเหลือ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 592)
กล่าวว่า
لاإلَـهَ إلَّاالله وَحْدَهُلا شَرِيكَلَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُوَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
ความหมาย
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลอฮฺองค์เดียวโดยไม่มีภาคีใดๆ เสมอพระองค์
เป็นสิทธิของพระองค์ซึ่งการครอบครองและการสรรเสริญสดุดี และพระองค์ทรงยิ่งด้วยเดชานุภาพเหนือทุกๆ
สิ่ง
2.
ย้ายจากที่ละหมาดฟัรดู เพื่อละหมาดสุนัต
เพื่อให้สถานที่สุหยุดมีหลายแห่งเพราะที่เหล่านั้นจะเป็นพยานให้เขา
3.
ถ้าละหมาดพร้อมกันในมัสยิดทั้งผู้หญิงและชาย ควรให้ผู้หญิงออกจากมัสยิดให้หมดก่อน
เพราะการปะปนกันนั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น