(اللقطة) เรื่องของที่เก็บได้

 (اللقطة)
เรื่องของที่เก็บได้

ความหมายด้านภาษา   :  หมายถึง ของตก , ของที่เก็บได้
ความหมายด้านศาสนา : หมายถึง การเอาทรัพย์ที่เก็บได้ไว้รักษา หรือไว้ปกครอง หลังจาก   
                                           ประกาศหาเจ้าของแล้ว 
มีตัวบทฮะดิษได้กล่าวไว้ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن اللقطة، الذهب، أو الوَرِق؟ فقال: «اعْرِفْ وِكَاءَهَا وَعِفَاصَهَا ثُمَّ عَرِّفْهَا سَنَةً فَإنْ لَـمْ تَعْرِفْ فَاسْتَنْفِقْهَا وَلْتَـكُنْ وَدِيعَةً عِنْدَكَ فَإنْ جَاءَ طَالِبُـهَا يَوْماً مِنَ الدَّهْرِ فَأَدِّهَا إلَيْـهِ». 
وَسَأَلَـهُ عَنْ ضَالَّةِ الإبلِ فَقَالَ: «مَا لَكَ وَلَـهَا دَعْهَا فَإنَّ مَعَهَا حِذَاءَهَا وَسِقَاءَهَا تَرِدُ المَاءَ وَتَأْكُلُ الشَّجَرَ حَتَّى يَـجِدَها رَبُّـهَا».
وَسَأَلَـهُ عَـنِ الشَّـاةِ فَقَـالَ: «خُذْهَا فَإنَّمَا هِيَ لَكَ أَوْ لأَخِيكَ أَوْ لِلذِّئْبِ».  متفق عليه.

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ถูกถามเกี่ยวกับสิ่งที่สูญหายที่มีคนพบเจอเป็นทองคำหรือเงิน?

ท่านนบีได้กล่าวว่า  “จงจดจำคุณลักษณะเชือกที่ผูกปากถุงของมันและถุงที่ใส่มัน แล้วทำการประกาศหาเจ้าของเป็นเวลาหนึ่งปี หากไม่พบเจอเจ้าของเขาก็จงใช้จ่ายมันได้  และจะถือว่ามันเป็นของที่ท่านรับฝากไว้เมื่อใดที่เจ้าของได้มาถามหาในวันใดวันหนึ่งในอนาคตท่านก็จงชดใช้ส่งคืนให้กับเขาเสีย”

แล้วชายคนนั้นได้ถามถึงอูฐที่หลงทาง ท่านนบีได้กล่าวว่า “ท่านกับมันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลย จงปล่อยมันไป เพราะมันก็มีเท้า มีน้ำเก็บไว้ดื่ม มันจะไปหาแหล่งน้ำ และหากินไปเรื่อยๆจนกว่าเจ้าของจะพบมัน”  
แล้วชายคนนั้นได้ถามถึงแกะที่พลัดหลง ท่านนบีได้กล่าวว่า “จงเก็บเอามันไว้ เพราะแท้จริงแล้วมันเป็นของท่านหรือไม่ก็เป็นของพี่น้องของท่าน หรือเป็นของหมาป่า”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 91  และบันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1722 ซึ่งคำรายงานนี้เป็นของท่าน)
วิธีการประกาศหาเจ้าของ
          ต้องประกาศที่ประตูมัสยิดในขณะที่สัปปุรุษเดินออก และที่ตลาด และสถานที่ชุมชนอื่นๆโดยเฉพาะ ณ สถานที่ที่เก็บได้ด้วยการประกาศหาเจ้าของนี้ให้บอกลักษณะบางประการด้วย แต่ไม่อนุญาตให้บอกลักษณะทั้งหมด และจะต้องประกาศหาเจ้าของเป็นระยะเวลา 1 ปี 
       หากของที่เก็บไว้เป็นของที่ไม่มีราคา หรือมีราคาน้อย กล่าวคือ สิ่งที่เจ้าของไม่ได้เกิดความเสียใจเมื่อมันหายหรือตกหล่น ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศหาเจ้าของ นอกจากในช่วงเวลาที่คิดว่าเจ้าของหาอยู่
ประเภทต่างๆของสิ่งที่ตกหล่น
มี 4 ประเภท
1. สิ่งที่คงสภาพ เช่น เงินหรือทอง เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้ต้องประกาศหาเจ้าของ 1 ปี
2. สิ่งที่ไม่คงสภาพ เช่น อาหาร หรือ ผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ให้ผู้พบเก็บไว้โดยเลือกปฏิบัติได้ 2 วิธีคือ
     2.1 เอามากิน โดยตั้งใจว่า จะให้ราคาของมันแก่ผู้เป็นเจ้าของ
     2.2 เอาไปขาย แล้วประกาศหาเจ้าของ
3. สิ่งที่ไม่คงสภาพ นอกจาก จะต้องดูแลรักษาอย่างเหมาะสมหรือถูกวิธี เช่น อินทผาลัมสด หรือองุ่นสด ซึ่งทั้งสองนี้สามารถทำแห้งไว้ได้ ก็ให้รักษาไว้โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะได้รับเป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าควรขายและเก็บเงินไว้ก็ขาย และถ้าควรตากแห้งก็ตากแห้ง
4. สิ่งที่จำเป็นต้องเลี้ยงดู เช่น สัตว์ เป็นต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
       4.1 สิ่งที่ไม่ปลอดภัยจากสัตวร้าง เช่น ลูกแพะ ลูกวัว หรือสัตว์ที่พิการ อนุญาตให้เก็บไว้ได้ หากเพื่อต้องการรักษาไว้หรือเพื่อการปกครอง เพราะหากปล่อยไป อาจเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายหรือของโจรได้
     4.2 สิ่งที่ปลอดภัยจากสัตว์ร้าย ไม่อนุญาตให้ผู้พบเก็บไว้เพื่อปกครองหรือครอบครอง แต่ให้เก็บไว้เพื่อรักษาได้เพียงอย่างเดียว
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง : แบบเรียนศาสนาอิสลามภาคบังคับ (ฟัรดูอัยน์) ระดับปลาย ปีที่ 9 เล่ม 1

1 ความคิดเห็น:

  1. เข้าใจง่ายมากค่ะ ขอบคุณค่ะ การสรุปดีค่ะการยกตัวอย่างการเน้นคำดีมากค่ะ

    ตอบลบ