มุสลิมควรที่จะเตรียมความพร้อมที่จะพบกับความตายอยู่เสมอ
ทั้งนี้ด้วยการสร้างและสะสมความดีให้มากๆ
และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นข้อห้ามต่างๆ
ในอิสลาม และพยายามไตร่ตรองนึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา
ดังที่ท่านนบีกล่าวไว้ว่า
«أَكْثِرُوا ذِكْرَ هَاذِمِ اللَّذَّاتِ»
[رواه الترمذي برقم 2229، وصححه الألباني في الإرواء برقم 682]
ความว่า
“ท่านทั้งหลาย จงนึกถึงความตายให้มากๆ”
(รายงานโดย
อัต-ติรมิซียฺ หมายเลข 2229
ท่านอัล-อัลบานียฺกล่าวในอัล-อิรวาอ์ (682) ว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
สิ่งที่มุสลิมควรปฏิบัติขณะใกล้ตาย
1.
เมื่อผู้ป่วยตกอยู่ในอาการใกล้ตาย
สุนัตแก่ญาตสนิทของผู้ป่วยจับเขานอนตะแคงขวา และหันหน้าไปทางกิบลัต
ถ้าหากลำบากก็ให้นอนหงายและยกศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ใบหน้าหันไปทางกิบลัต
2.
สุนัตให้สอนชาฮาดะห์คือ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ เบาๆโดยไม่เร่งเร้า
และให้กล่าวซ้ำๆหลายๆรอบที่หูผู้ป่วย
3.
สุนัตอ่านซูเราะห์ยาซีนที่คนใกล้ตาย มีฮาดิษที่ว่า
يس قَلْبُ الْقُرْآنِ،
لاَ يَقْرَؤُهَارَجُلٌ يُرِيْدُ اللهَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى وَالدَّارَ اْلآخِرَةَ
إِلاَّ غَفَرَلَهُ، وَاقْرَؤُوْهَا عَلَى مَوْتَاكُمْ
“ยาซีน คือหัวใจอัล-กุรฺอ่าน! .. ไม่มีผู้ใดที่มุ่งหวังต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์อ่านมัน
เว้นแต่พระองค์จะอภัยโทษให้เขา,
และพวกท่านจงอ่านมัน
(ยาซีน)
ให้แก่ “คนใกล้ตาย”ของพวกท่าน”
4.
สุนัตให้ผู้ป่วยที่รู้สึกว่าความตายและอาการทุรนทุรายได้เกิดกับเขาแล้ว
ตั้งเจตนาที่ดีต่ออัลลอฮ์
และให้เขาทิ้งภาพบาปและความชั่วต่างๆของเขาไว้ข้างหลังให้วาดภาพว่าเขากำลังมุ่งสู่อัลลอฮ์
และพระองค์ได้อภัยบาปต่างๆให้แก่เขาหมดสิ้นแล้วตาบที่เขายังคงอยู่ในนสภาพผู้มีความศรัทธาต่อพระองค์
สิ่งที่ควรปฏิบัติแก่มุสลิมภายหลังเสียชีวิต
1.
ทำให้ตาทั้งสอบข้างของผู้ตายปิดสนิท
และผูกขากรรไกรทั้งสองข้างด้วยผ้า
2.
ทำให้ข้อต่อต่างๆอ่อนตัวลง และทำให้มันกลับเข้าสู่สภาพเดิม
3.
วางสิ่งที่หนักๆลงบนท้องศพ เพื่อไม่ให้ขึ้นอืด ซึ่งจะเป็นภาพที่น่าเกลียดและสุนัตให้ปิดทั่วร่างศพด้วยผ้าเบาๆ
4.
สุนัตให้ถอดเสื้อผ้าศพออกทั้งหมด
และวางศพลงบนเตียงหรือที่สูงกว่าพื้น หันหน้าศพไปทางกิบลัต
สิ่งที่วายิบ (จำเป็น)
ต้องปฏิบัติเมื่อชีวิตออกจากร่างและเป็นที่แน่นอนว่าเสียชีวิตแล้ว
สุนัตให้รีบจัดการศพ
คือ อาบน้ำ ห่อ ละหมาด และฝัง ดังฮะดิษของท่านนบีที่ว่า
«
أَسْرِعُوا بِالْجِنَازَةِ» [البخاري برقم 1315، مسلم برقم 2229]
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงรีบจัดการกับศพให้รวดเร็ว” (อัล-บุคอรียฺ 1315,
มุสลิม 2229)
ซึ้งมวลมุสลิมมีมติเหมือนกันว่าเป็น ฟัรดูกีฟายะห์
ซึ่งถ้าหากไม่มีผู้ใดกระทำสิ่งเหล่านั้นแก่ศพเลย คนในเมืองนั้นทั้งหมดก็มีบาป
1. อาบน้ำศพ ซึ่งมี 2 วิธี
วิธีที่ 1 เป็นวิธีที่พอใช้ได้และพ้นบาป
คือขจัดนะยิสออกไปจากร่างศพให้หมด และรดน้ำให้ทั่วร่าง
วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่สมบูรณ์ คือให้ผู้ทำหน้าที่อาบน้ำ
โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
หนึ่ง
วางศพลงบนที่สูงกว่าพื้น ปกปิดอวัยวะพึงสงวนของศพ
สอง
ผู้ทำหน้าที่อาบน้ำจับศพนั่งเอนหลัง โดยใช้มือขวาจับศีรษะของศพไว้
และใช้มือซ้ายลูบบนท้องพร้อมกับกดรีด เพื่อให้สิ่งที่อาจค้างอยู่ในท้องออกมา
หลังจากนั้นพันมือด้วยผ้าหรือสวมถุงมือและล้างทวารหนังและทวารเบา
และเอาใจใส่ปากและรูจมูกของศพและทำความสะอาดมัน
แล้วอาบน้ำละหมาดให้แก่ศพเหมือนกับที่คนเป็นอาบน้ำละหมาด
สาม
ล้างศีรษะและใบหน้าศพด้วยสบู่หรือสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดอื่นๆ หวีผม
และถ้ามีผมหลุดออกมาก็ให้ใส่คืนไป เพื่อมันจะได้ถูกฝังพร้อมกับศพ
สี่
อาบน้ำซีกขวาศพจากส่วนที่ถัดจากใบหน้า (ด้านล่าง) ให้สมบูรณ์
จากนั้นก็อาบน้ำซีกซ้ายที่ถัดจากใบหน้าเช่นกัน แล้วอาบน้ำซีกขวาที่ถัดจากต้นคอ
และซีกซ้ายก็เช่นเดียวกัน
นี่เป็นการอาบน้ำครั้งที่หนึ่งและสุนัตให้กระทำซ้ำเช่นเดียวกันอีกสองครั้ง
และเมื่อได้กระทำครบ 3 ครั้งแล้ว ในครั้งสุดท้ายให้ปนน้ำพิมเสนลงในน้ำที่ใช้อาบ ** ถ้าหากคนตาย
อยู่ในสภาพครองเอี๊ยะรอมฮัจย์ก็ให้ทำการอาบน้ำเช่นเดียวกับคนที่ไม่ได้ครองเอียะรอม
โดยไม่ต้องใส่พิมเสนหรือเครื่องหอมใดๆลงในน้ำที่ใช้อาบ
ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ชายจะต้องอาบน้ำผู้ชายด้วยกันและผู้หญิงก็ต้องอาบเฉพาะผู้หญิง
ยกเว้นสามีและภรรยาสามารถอาบให้กันได้
และในกรณีที่ไม่มีผู้ที่อาบน้ำให้ศพที่เป็นผู้หญิงนอกจากผู้ชายอื่นที่ไม่ใช่มะห์รอม
หรือไม่มีผู้ที่อาบใก้กับศพชายนอกจากหญิงที่ศาสนายินยอมให้นิกะห์กับชายนั้นได้
ก็ไม่จำเป็นต้องอาบ แต่ให้ทำตะยัมมุมแทน
ส่วนนักรบที่ตายในสนามรบเพื่อปกป้องศาสนา
(ชาฮีด) ไม่ต้องอาบน้ำให้กับศพ
2. ห่อศพ อย่างน้อยที่สุดต้องใช้ผ้าที่สามารถปิดศพได้หมดทั้งร่าง
ตลอดถึงศีรษะ ส่วนการห่อที่สมบูรณ์คือให้พิจารณาดังนี้
- หากศพเป็นชายให้ห่อด้วยผ้าขาวสามชั้น
โดยแต่ละชั้นยาวเท่าตัวศพ และมีความกว้างพอที่จะพันศพได้ทั้งร่าง และมักโรฮ์ที่จะห่อโดยไม่ใช้ผ้าขาว
- และถ้าศพนั้นเป็นหญิง
สุนัตให้ห่อด้วยผ้าขาวห้าชั้น
คือผ้านุ่งที่ปิดตั้งแต่สะดือของนางจนถึงส่วนล่างสุดของร่างกาย ผ้าคลุมศีรษะ
เสื้อที่ปกปิดส่วนบนของร่างกายจนทับผ้านุ่ง
และอีกสองชั้นที่สามารถปกปิดได้ทั่วร่างกายของนาง และใช้เศษผ้ามันผ้าห่อศพแล้วแก่ออกที่หลุมศพ
3. ละหมาดแก่ศพ มีรูกุ่นที่จะต้องปฏิบัติด้วยกัน
7 ประการ
3.1 เนี๊ยะ (ตั้งเจตนา)
เช่น “ข้าพเจ้าละหมาดให้กับศพชายนี้ 4 ตักบีร เป็นฟัรดูกีฟายะ เพื่ออัลลอฮ์”
3.2 ยืนตรง
สำหรับผู้ที่สามารถยืนได้ เช่นเดียวกับการละหมาดฟัรดู
3.3 ตักบีรรอตุลเอี๊ยะรอม
ซึ่งกระทำพร้อมกับการตั้งเจตนา (ตักบีรด้วยกัน 4 ครั้ง)
3.4 อ่านซูเราะห์ฟาติฮะในตักบีรครั้งที่
1
3.5 อ่านซอลาวาตนบี
(ซ.ล.) ในตักบีรครั้งที่ 2 คือ
กล่าวว่า
«اللهم صلِّ عَلٰى (سيدنا)
مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ
(سيدنا) مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَلٰى (سيدنا) إِبْرَاهِيمَ وَعَلٰى آلِ (سيدنا) إِبْرَاهِيمَ وبَارِكْ
عَلٰى(سيدنا) مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ (سيدنا) مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلٰى (سيدنا)
إِبْرَاهِيْمَ وَعَلٰى آلِ (سيدنا) إِبْرَاهِيمَ في العالمين إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَّجِيْدٌ»
หรือจะกล่าวสั้นๆ ว่า
«اللهم صلِّ عَلٰى مُحَمَّدٍ» ก็ถือว่าใช้ได้
3.6
อ่านดุอาร์ให้แก่ผู้ตาย ในตักบีรที่ 3 เช่นกล่าวว่า
«اللهم اغْفِرْ لِحَيِّنَا وَمَيِّتِنَا، وَصَغِيْرِنَا وَكَبِيْرِنَا،
وذَكَرِنَا وَأُنْثَانَا، وشَاهِدِنَا وَغَائِبِنَا. اللهم مَنْ أَحْيَيْتَهُ
مِنَّا فأَحْيِهِ عَلىَ الْإِسْلَامِ، وَمَنْ تَوَفَّيْتَهُ مِنَّا فَتَوَفَّهُ عَلَى
الْإِيْمَانِ»
ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองคได้ทรงอภัยโทษให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่เสียชีวิตในหมู่พวกเรา ผู้ที่เป็นเด็กของเราและผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ของเรา ผู้ชายในหมู่ของเราและผู้หญิงในหมู่ของเรา ผู้ที่ร่วมอยู่ ณ ที่นี้และผู้ที่มิได้อยู่ร่วมด้วย โอ้ อัลลอฮฺผู้ใดที่พระองค์ทรงให้มีชีวิตอยู่จากพวกเรา โปรดทรงให้เขามีชีวิตอยู่ในอิสลาม และผู้ใดที่พระองค์ทรงให้เขาตายไปจากพวกเรา โปรดทรงให้เขาตายไปในอีมาน”
หรือกล่าวดุอาร์ต้นนี้
«اللهم اغْفِرْ لَهُ
وَارْحَمْهُ، وَعَافِهِ وَاعْفُ عَنْهُ، وَأَكْرِمْ نُزُلَهُ وَوَسِّعْ مُدْخَلَهُ،
وَاغْسِلْهُ بِالْمَاءِ وَالثَّلْجِ وَالْبَرَدِ، وَنَقِّهِ مِنَ الْخَطَايَا كَمَا
نَقَّيْتَ الثَّوْبَ الأَبْيَضَ مِنَ الدَّنَسِ، وَأَبْدِلْهُ دَارًا خَيْرًا مِنْ
دَارِهِ، وَأَهْلاً خَيْرًا مِنْ أَهْلِهِ، وَزَوْجًا خَيْرًا مِنْ زَوْجِهِ، وَأَدْخِلْهُ
الْجَنَّةَ وَأَعِذْهُ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ وَعَذَابَ النَّارِ» [مسلم برقم
2278]
ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ทรงยกโทษให้แก่เขา ขอจงเอ็นดูเมตตาแก่เขา ขอจงให้ความปลอดภัยแก่เขา ขอจงให้อภัยแก่เขา ขอจงประทานเกียรติยศแก่สถานที่ต้อนรับของเขา ขอจงให้ความกว้างซึ่งสถานที่ที่เขาเข้าไปอยู่ ขอจงชำระล้างเขาเขาด้วยน้ำ หิมะ และด้วยลูกเห็บ ขอจงให้เขาได้เปลื้องจากความผิดของเขาประดุจดังผ้าขาวที่ปราศจากสิ่งโสโครก ขอจงเปลี่ยนที่อยู่ของเขาให้ดีกว่าที่อยู่เก่าของเขา และขอจงทดแทนวงศ์วานให้แก่เขาดีกว่าวงศ์วานเดิมของเขา และขอจงให้เขามีคู่ครองดีกว่าคู่ครองเดิมของเขา และขอให้เขาเข้าสวรรค์ และขอจงปกป้องเขาให้พ้นจากความทรมานในกูโบรฺและความทรมานในนรก” (รายงานโดยมุสลิม 2276, 2278)
ตักบีรที่ 4 สุนัตให้กล่าวดุอาร์คือ
«اللهم لَا تَحْرِمْنَا أَجْرَهُ ،
وَلَا تَفْتِنَّا بَعْدَهُ، وَاغْفِرْ لَنَا وَلَهُ»
3.7
กล่าวสลาม
4.
ฝังศพ
อย่างน้อยที่สุดของการฝัง คือ
ให้หลุมที่สมารถป้องกันกลิ่นศพและป้องกันการขุดคุ้ยของสัตว์ร้าย
โดยให้ศพหันหน้าไปทางกิบลัต
การฝังที่สมบูรณ์จะต้องกระทำดังนี้
4.1
ฝังให้หลุมลึกท่วมหัวคนปานกลางและชูมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ
และจะต้องกว้างประมาณหนึ่งศอกหนึ่งคืบ
4.2
จำเป็นให้ศพนอนตะแคงขวาและหันหน้าสู่กิบลัต
4.3 สุนัตให้หลุมศพเป็นแบบ ละฮัด (คือ
การขุดหลุมให้ได้ขนาดตามหลักศาสนา แล้วเซาะด้านกิบลัตให้ลึกเข้าไปเพื่อเอาศพใส่เข้าไปในช่องที่เซาะแล้วปิดด้วยแผ่นหินบางๆ
เพื่อไม่ให้ดินกลบทับ)
4.5
สุนัตให้นำศพเข้าหลุมทางด้านศีรษะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น