بسم الله الرحمن الرحيم
อัล-อุดฮียะฮ์
( اَلأُضْحِيَةُ ) และ อัล - อะกีเกาะห์ (اَلْعَقِيْقَةُ )
بسم الله الرحمن الرحيم
อัล-อุดฮียะฮ์
( اَلأُضْحِيَةُ ) และ อัล - อะกีเกาะห์ (اَلْعَقِيْقَةُ )
อุดฮียะฮ์ : คือสัตว์จำพวก
อูฐ วัว ควาย แพะ หรือแกะที่ถูกเชือดเพื่อพลีเป็นทาน
เป็นการนำตนเข้าใกล้ชิดอัลลอฮ์ ตะอาลา ในวันอีดิ้ลอัฎฮาและอีกสามวันหลังจากนั้น
หลักฐานในการบัญญัติเรื่องอุดฮียะห์นั้นก็คือ
คำดำรัสของอัลลอฮ์ ตะอาลา ที่ว่า
فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ
“ดังนั้นเจ้าจงละหมาด
(อีด) เพื่อองค์อภิบาลของเจ้าและจงเชือด (สัตว์)” (อัลเกาซัร : 2)
ความหมายของคำว่าเชือดในทรรศนะของนักวิชาการที่ถูกต้องที่สุดนั้นคือ
เชือดสัตว์ อุดฮียะห์หรือเชือดสัตว์กุรบาน
และหะดีษที่บุคอรี
และมุสลิม ได้รายงานว่า
قَالَ
ضَحَّى النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِكَبْشَيْنِ أَمْلَحَيْنِ
فَرَأَيْتُهُ وَاضِعاً قَدَمَهُ عَلَى صِفَاحِهِمَا يُسَمِّي وَيُكَبِّرُ
فَذَبَحَهُمَا بِيَدِهِ
“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้เชือดสัตว์อุดฮียะห์เป็นแกะสองตัวสีเทามีเขา ท่านได้เชือดมันทั้งสองด้วยมือของท่านเอง
ท่านได้วางเท้าของท่านลงบนข้างต้นคอของมันทั้งสอง แล้วท่านกล่าวบิสมิลลาฮฺฯและกล่าวตักบีร”
ฮิกมะห์ในการบัญญัติเรื่องอุดฮียะห์ :
สิ่งที่ควรทราบก็คือ
อุดฮียะห์ นั้นเป็นอิบาดะห์
และนอกจากการเชือดอุดฮียะห์จะเป็นการยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮ์ ตะอาลา
ในความหมายของความเป็น “บ่าว” แล้ว ในอุดฮียะห์นี้ก็ยังมีฮิกมะห์และประโยชน์อื่นๆ
อีก ความหมายที่ชัดเจนและยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับอุดฮียะห์ก็คือ
เป็นการฟื้นฟูความหมายของการเสียสละอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่ท่านนะบีอิบรอฮีม
(อะลัยฮิสสลาม) ได้กระทำไว้ขณะที่อัลลอฮ์ ทรงทดสอบท่านนบีอิบรอฮีม
โดยมีบัญชาให้เชือดบุตรชายของตนคืออิสมาอีล
และต่อมาอัลลอฮ์ก็ได้ไถ่ตัวบุตรชายของเขาด้วยแกะที่พระองค์ได้ประทานลงมา
และมีคำสั่งให้เชือดแกะตัวนั้นแทนบุตรชาย
หลังจากท่านนบีอิบรอฮีมและบุตรชายได้พยายามปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ให้เป็นความจริงอย่างถึงที่สุดแล้ว และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ
เป็นความเอื้อเฟื้อแก่คนยากไร้และคนที่ขัดสน
ทำให้คนในครอบครัวมีความดีใจและปีติยินดีในวันอีด
และเป็นการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในสังคมมุสลิมให้เกิดความมั่นคงแน่นเหนียว
ข้อกำหนด (ฮุกุ่ม) ของอุดฮียะห์ :
อุดฮียะห์เป็นสุนัตมุอักกะดะห์
แต่อาจกลายเป็นวาญิบได้ด้วยสาเหตุสองประการคือ :
หนึ่ง : การที่บุคคลหนึ่ง
ชี้ไปที่สัตว์ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของเขาซึ่งเป็นสัตว์ที่ใช้ทำอุดฮียะห์ได้
แล้วกล่าวว่า : นี่คืออุดฮียะห์ของฉันหรือกล่าวว่า : ฉันจะใช้สัตว์นี้ทำอุดฮียะห์
เป็นต้น ดังนั้นเขาก็จำเป็น (วาญิบ) ต้องเชือดสัตว์นั้นทำอุดฮียะห์
สอง : บนบาน (นะซัร)
ว่าจะทำอุดฮียะห์ เช่น กล่าวว่า :
ข้าพเจ้าทำอุดฮียะห์เพื่ออัลลอฮ์ก็จะกลายเป็นวาญิบเหนือเขา เช่นเดียวกับการบนบาน
(นะซัร) ในอิบาดะห์อื่น ๆ
ใครที่ถูกกำหนดให้ทำอุดฮียะห์ :
อุดฮียะห์เป็นสุนัตแก่ผู้ที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครบถ้วน
:
อิสลามดังนั้นผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
จึงไม่ถูกกำหนดให้ทำอุดฮียะห์
บรรลุศาสนภาวะและมีสติปัญญาดังนั้นผู้ที่ไม่บรรลุศาสนภาวะและผู้ที่ขาดสติจึงไม่ถูกกำหนดให้ทำอุดฮียะห์
มีความสามารถและที่จะเรียกว่าเป็นผู้มีความสามารถก็คือ
มีทรัพย์สินที่จะซื้อสัตว์อุดฮียะห์เกินกว่าค่าใช้จ่ายของตนและค่าใช้จ่ายของผู้ที่ตนรับผิดชอบ
ทั้งที่เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัยในช่วงวันอีดิ้ลอัฎฮา
และวันตัชรีกทั้งสาม
สัตว์ที่ใช้ทำอุดฮียะห์
สัตว์ที่ใช้ทำอุดฮียะห์ได้นั้นต้องเป็น
อูฐ หรือ วัว หรือ แกะ หรือ แพะ เพราะอัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสไว้มีความหมายว่า :
وَلِكُلِّ أُمَّةٍ جَعَلْنَا مَنسَكًا لِّيَذْكُرُوا
اسْمَ اللَّهِ عَلَىٰ مَا رَزَقَهُم مِّن بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ
“และสำหรับทุกประชาชาตินั้น เราได้กำหนดศาสนพิธีไว้แล้ว
เพื่อให้พวกเขากล่าวนามของอัลลอฮ์เหนือสิ่งที่พระองค์ได้ประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา
จากจำพวกปศุสัตว์” (อัลฮัจย์ : 34)
และคำว่าปศุสัตว์นั้นก็ไม่พ้นไปจากสัตว์ทั้งสามจำพวกที่กล่าวมาแล้วนั้น
และเพราะไม่เคยมีผู้ใดรายงานจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
และศ่อฮาบะห์ของท่านว่าได้ทำอุดฮียะห์ด้วยสัตว์อื่น
และ สัตว์ที่ดีที่สุดในการทำอุดฮียะห์ก็คือ
อูฐ รองลงมาได้แก่ วัว และรองลงมาก็ได้แก่ แพะ แกะ
(ส่วนควายนั้นนักวิชาการกล่าวว่าใช้ทำอุฮียะห์ได้เพราะควายเป็นวัวชนิดหนึ่งหรือเทียบเคียงกับวัว.
จากหนังสืออัลเมาซูอะห์ อัลกุวัยตียะห์)
อนุญาตให้ใช้อูฐและวัวหนึ่งตัว
ทำอุดฮียะห์ได้เจ็ดคน . มุสลิม ได้รายงานจาก ญาบิร (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ)
ได้กล่าวว่า : “เราได้เชือดพร้อมกับท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ในปีฮุดัยปียะห์
อูฐหนึ่งตัวแก่เจ็ดคน และวัวหนึ่งตัวแก่เจ็ดคน”
เงื่อนไขอุดฮียะห์ :
อายุ : อูฐต้องมีอายุย่างเข้าปีที่หก
วัวและแพะต้องมีอายุย่างเข้าปีที่สาม
แกะนั้นต้องมีอายุย่างเข้าปีที่สอง หรือฟันหน้าร่วงคือผลัดฟันหน้า
แม้อายุยังไม่ถึงกำหนดก็ตาม
ต้องสมบูรณ์ : เป็นเงื่อนไขของสัตว์ทั้งสามประเภทที่กล่าวมาแล้วว่า : ต้องปลอดจากตำหนิต่าง
ๆ ที่เป็นเหตุให้เนื้อลดน้อยลง ดังนั้นแกะที่ผอม คือไม่มีไขมันเลยเนื่องจากผอมมาก
และสัตว์ที่ ขากะเผลก หรือ ตาบอด หรือเป็นโรค หูแหว่ง จึงใช้ทำอุดฮียะห์ไม่ได้
เวลาเชือดอุดฮียะห์ :
เวลา
เชือดอุดฮียะห์ เริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้นในวันอีดิ้ลอัฎฮา และผ่านไปช่วงหนึ่งที่พอจะละหมาดสองรอกาอัตและสองคุตบะห์ได้
เวลาการเชือดอุดฮียะห์นี้จะยังคงอยู่เรื่อยไปจนถึงตะวันตกในวันสุดท้ายของวัน
ตัชรีก วันตัชรีกคือวันที่สิบเอ็ด สิบสอง และสิบสามของเดือนซุ้ลฮิจยะห์
เวลาที่ดีเลิศสำหรับการเชือดอุดฮียะห์คือภายหลังละหมาดอีด
จะปฏิบัติอย่างไรกับอุดฮียะห์
ภายหลังจากเชือดแล้ว :
ถ้าหากอุดฮียะห์นั้นเป็นวาญิบ
: โดยการบนบาน (นะซัร) ไว้ หรือโดยการระบุแน่นอนว่าสัตว์ตัวนี้จะทำอุดฮียะห์
จะไม่อนุญาตให้ผู้ทำอุดฮียะห์
และคนใดในครอบครัวของเขาที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้
รับประทานอุดฮียะห์นั้น ถ้าหากผู้ใดรับประทานส่วนหนึ่งของอุดฮียะห์
ก็จะต้องถูกปรับเท่ากับที่รับประทานไปหรือถูกปรับเป็นราคา
และถ้าหากเป็นอุดฮียะห์ที่สุนัต
ก็อนุญาตให้รับประทานได้ตามแต่เขาต้องการ โดยจะต้องบริจาคส่วนที่เหลือทั้งหมด
และยอมอนุญาตให้เขารับประทานได้หนึ่งในสามของอุดฮียะห์ และบริจาคหนึ่งในสามให้แก่คนยากจน
และอีกหนึ่งในสามมอบเป็นของขวัญ (ฮะดียะห์) แก่เพื่อน ๆ
และเพื่อนบ้านแม้จะเป็นคนรวยก็ตาม
แต่สิ่งที่ให้คนรวยนั้นเป็นของขวัญมีจุดมุ่งหมายที่การรับประทานเท่านั้น
ไม่ยินยอมให้พวกเขานำไปขายแลกเปลี่ยน ส่วนสิ่งที่ให้แก่คนอยากจนนั้นเป็นการให้ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์
ซึ่งคนจนอาจใช้รับประทานหรือนำไปจับจ่ายตามความต้องการ
และยินยอมให้ผู้ทำอุดฮียะห์
บริจาคหนังสัตว์ของตนได้
หรือเอาไว้ใช้ประโยชน์เองก็ได้แต่ไม่ยินยอมให้ขายหนังสัตว์อุดฮียะห์หรือให้แก่ผู้เชือดสัตว์เป็นค่าจ้างในการเชือดของเขา
เพราะการดังกล่าวนั้นเป็นการทำให้อุดฮียะห์ลดหย่อน
ซึ่งทำให้อุดฮียะห์มีผลใช้ไม่ได้
สุนัตและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอุดฮียะห์ :
หนึ่ง : เมื่อเข้าสู่ช่วงสิบวันแรกของเดือนซุ้ลฮิจยะห์
และมีผู้ที่ตั้งใจในช่วงเวลาดังกล่าวว่าจะทำอุดฮียะห์
สุนัตให้เขาปล่อยผมและเล็บไว้จนกว่าจะเชือดอุดฮียะห์ เพราะฮะดีษที่มุสลิม(1977) ได้รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า :
إِذاَ رَأَيْتُمْ هِلاَلَ
ذِي الحَجَّةِ وَأَراَدَ أَحَدُكُمْ أَنْ يُضَحِّيَ فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ
وَأَظَافِرِهِ
สอง : สุนัตให้เชือดอุดฮียะห์ด้วยตนเอง
และถ้าหากมีอุปสรรไม่สามารถกระทำเองได้ ก็ให้มาดูการเชือดอุดฮียะห์ด้วย เพราะฮะดีษที่ฮากิม (4/222) ได้รายงานด้วยสายรายงานที่ซอเฮียะห์ว่า
ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวแก่ฟาติมะห์ (ร.ด.) ว่า :
قُوْمِيْ
إِلَيْ أُضْحِيَتِكِ فَاشْهَدِيْهَا فَإِنَّهُ بِأَوَّلِ قِطْرَةِ مَنْ دَمِهَا
يُغْفَرُ لَكِ مَا سَلَفَ مِنْ ذُنُوْبِكِ قَالَتْ : يَا رَسُوْلَ اللهِ ، هَذَا
لَنَا أَهْلُ البَيْتِ خَاصَّةً ، أَوْ لَنَا ولِلمُسْلِمِيْنَ عَامَّةً ؟ قَالَ
بَلْ لَناَ وَلِلمُسْلِمِيْنَ عَامَّةً
"เธอจงลุกขึ้นไปที่อุดฮียะห์ของเธอและดูมัน
เพราะด้วยเหลือดหยดแรกของมัน เธอจะได้รับการอภัยโทษจากบาปต่าง
ๆ ของเธอที่ล่วงมาแล้ว ฟาติมะห์ได้ถามว่า :
โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.)
ที่ท่านกล่าวนี้เฉพาะพวกเราที่เป็นคนในครอบครัวของท่าน (อะห์ลุลลัยต์)
เท่านั้นหรือสำหรับพวกเราและมวลมุสลิมโดยทั่วไป? ท่านตอบว่า
: แต่มันสำหรับพวกเราและมวลมุสลิมโดยทั่วไป"
และสุนัตให้ผู้นำเชือดอุดฮียะห์ ณ
สถานที่ละหมาดซึ่งเป็นสถานที่ประชาชนได้มาชุมนุมกันเพื่อละหมาดอีด และสุนัตให้เชือดด้วยตนเอง บุคอรีได้รายงานในหนังสือซอเฮียะห์ของเขา (5232)
عَنْ
إِبْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّي اللهُ
عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَذْبَحُ وَيَنْحَرُ بِالْمُصَلَّي
"จากอิบนุอุมัร
(ร.ด.) ได้กล่าวว่า : "ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้เชือดสัตว์ ณ
สถานที่ละหมาด"
اَلْعَقِيْقَةُ
การทำอะกีเกาะห์
อุดฮียะฮ์ : คือสัตว์จำพวก
อูฐ วัว ควาย แพะ หรือแกะที่ถูกเชือดเพื่อพลีเป็นทาน
เป็นการนำตนเข้าใกล้ชิดอัลลอฮ์ ตะอาลา ในวันอีดิ้ลอัฎฮาและอีกสามวันหลังจากนั้น
หลักฐานในการบัญญัติเรื่องอุดฮียะห์นั้นก็คือ
คำดำรัสของอัลลอฮ์ ตะอาลา ที่ว่า
فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ
“ดังนั้นเจ้าจงละหมาด
(อีด) เพื่อองค์อภิบาลของเจ้าและจงเชือด (สัตว์)” (อัลเกาซัร : 2)
ความหมายของคำว่าเชือดในทรรศนะของนักวิชาการที่ถูกต้องที่สุดนั้นคือ
เชือดสัตว์ อุดฮียะห์หรือเชือดสัตว์กุรบาน
และหะดีษที่บุคอรี
และมุสลิม ได้รายงานว่า
قَالَ
ضَحَّى النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِكَبْشَيْنِ أَمْلَحَيْنِ
فَرَأَيْتُهُ وَاضِعاً قَدَمَهُ عَلَى صِفَاحِهِمَا يُسَمِّي وَيُكَبِّرُ
فَذَبَحَهُمَا بِيَدِهِ
“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้เชือดสัตว์อุดฮียะห์เป็นแกะสองตัวสีเทามีเขา ท่านได้เชือดมันทั้งสองด้วยมือของท่านเอง
ท่านได้วางเท้าของท่านลงบนข้างต้นคอของมันทั้งสอง แล้วท่านกล่าวบิสมิลลาฮฺฯและกล่าวตักบีร”
ฮิกมะห์ในการบัญญัติเรื่องอุดฮียะห์ :
สิ่งที่ควรทราบก็คือ
อุดฮียะห์ นั้นเป็นอิบาดะห์
และนอกจากการเชือดอุดฮียะห์จะเป็นการยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลลอฮ์ ตะอาลา
ในความหมายของความเป็น “บ่าว” แล้ว ในอุดฮียะห์นี้ก็ยังมีฮิกมะห์และประโยชน์อื่นๆ
อีก ความหมายที่ชัดเจนและยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับอุดฮียะห์ก็คือ
เป็นการฟื้นฟูความหมายของการเสียสละอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่ท่านนะบีอิบรอฮีม
(อะลัยฮิสสลาม) ได้กระทำไว้ขณะที่อัลลอฮ์ ทรงทดสอบท่านนบีอิบรอฮีม
โดยมีบัญชาให้เชือดบุตรชายของตนคืออิสมาอีล
และต่อมาอัลลอฮ์ก็ได้ไถ่ตัวบุตรชายของเขาด้วยแกะที่พระองค์ได้ประทานลงมา
และมีคำสั่งให้เชือดแกะตัวนั้นแทนบุตรชาย
หลังจากท่านนบีอิบรอฮีมและบุตรชายได้พยายามปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ให้เป็นความจริงอย่างถึงที่สุดแล้ว และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ
เป็นความเอื้อเฟื้อแก่คนยากไร้และคนที่ขัดสน
ทำให้คนในครอบครัวมีความดีใจและปีติยินดีในวันอีด
และเป็นการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในสังคมมุสลิมให้เกิดความมั่นคงแน่นเหนียว
ข้อกำหนด (ฮุกุ่ม) ของอุดฮียะห์ :
อุดฮียะห์เป็นสุนัตมุอักกะดะห์
แต่อาจกลายเป็นวาญิบได้ด้วยสาเหตุสองประการคือ :
หนึ่ง : การที่บุคคลหนึ่ง
ชี้ไปที่สัตว์ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของเขาซึ่งเป็นสัตว์ที่ใช้ทำอุดฮียะห์ได้
แล้วกล่าวว่า : นี่คืออุดฮียะห์ของฉันหรือกล่าวว่า : ฉันจะใช้สัตว์นี้ทำอุดฮียะห์
เป็นต้น ดังนั้นเขาก็จำเป็น (วาญิบ) ต้องเชือดสัตว์นั้นทำอุดฮียะห์
สอง : บนบาน (นะซัร)
ว่าจะทำอุดฮียะห์ เช่น กล่าวว่า :
ข้าพเจ้าทำอุดฮียะห์เพื่ออัลลอฮ์ก็จะกลายเป็นวาญิบเหนือเขา เช่นเดียวกับการบนบาน
(นะซัร) ในอิบาดะห์อื่น ๆ
ใครที่ถูกกำหนดให้ทำอุดฮียะห์ :
อุดฮียะห์เป็นสุนัตแก่ผู้ที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครบถ้วน
:
อิสลามดังนั้นผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
จึงไม่ถูกกำหนดให้ทำอุดฮียะห์
บรรลุศาสนภาวะและมีสติปัญญาดังนั้นผู้ที่ไม่บรรลุศาสนภาวะและผู้ที่ขาดสติจึงไม่ถูกกำหนดให้ทำอุดฮียะห์
มีความสามารถและที่จะเรียกว่าเป็นผู้มีความสามารถก็คือ
มีทรัพย์สินที่จะซื้อสัตว์อุดฮียะห์เกินกว่าค่าใช้จ่ายของตนและค่าใช้จ่ายของผู้ที่ตนรับผิดชอบ
ทั้งที่เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัยในช่วงวันอีดิ้ลอัฎฮา
และวันตัชรีกทั้งสาม
สัตว์ที่ใช้ทำอุดฮียะห์
สัตว์ที่ใช้ทำอุดฮียะห์ได้นั้นต้องเป็น
อูฐ หรือ วัว หรือ แกะ หรือ แพะ เพราะอัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสไว้มีความหมายว่า :
وَلِكُلِّ أُمَّةٍ جَعَلْنَا مَنسَكًا لِّيَذْكُرُوا
اسْمَ اللَّهِ عَلَىٰ مَا رَزَقَهُم مِّن بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ
“และสำหรับทุกประชาชาตินั้น เราได้กำหนดศาสนพิธีไว้แล้ว
เพื่อให้พวกเขากล่าวนามของอัลลอฮ์เหนือสิ่งที่พระองค์ได้ประทานเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา
จากจำพวกปศุสัตว์” (อัลฮัจย์ : 34)
และคำว่าปศุสัตว์นั้นก็ไม่พ้นไปจากสัตว์ทั้งสามจำพวกที่กล่าวมาแล้วนั้น
และเพราะไม่เคยมีผู้ใดรายงานจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
และศ่อฮาบะห์ของท่านว่าได้ทำอุดฮียะห์ด้วยสัตว์อื่น
และ สัตว์ที่ดีที่สุดในการทำอุดฮียะห์ก็คือ
อูฐ รองลงมาได้แก่ วัว และรองลงมาก็ได้แก่ แพะ แกะ
(ส่วนควายนั้นนักวิชาการกล่าวว่าใช้ทำอุฮียะห์ได้เพราะควายเป็นวัวชนิดหนึ่งหรือเทียบเคียงกับวัว.
จากหนังสืออัลเมาซูอะห์ อัลกุวัยตียะห์)
อนุญาตให้ใช้อูฐและวัวหนึ่งตัว
ทำอุดฮียะห์ได้เจ็ดคน . มุสลิม ได้รายงานจาก ญาบิร (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ)
ได้กล่าวว่า : “เราได้เชือดพร้อมกับท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ในปีฮุดัยปียะห์
อูฐหนึ่งตัวแก่เจ็ดคน และวัวหนึ่งตัวแก่เจ็ดคน”
เงื่อนไขอุดฮียะห์ :
อายุ : อูฐต้องมีอายุย่างเข้าปีที่หก
วัวและแพะต้องมีอายุย่างเข้าปีที่สาม
แกะนั้นต้องมีอายุย่างเข้าปีที่สอง หรือฟันหน้าร่วงคือผลัดฟันหน้า
แม้อายุยังไม่ถึงกำหนดก็ตาม
ต้องสมบูรณ์ : เป็นเงื่อนไขของสัตว์ทั้งสามประเภทที่กล่าวมาแล้วว่า : ต้องปลอดจากตำหนิต่าง
ๆ ที่เป็นเหตุให้เนื้อลดน้อยลง ดังนั้นแกะที่ผอม คือไม่มีไขมันเลยเนื่องจากผอมมาก
และสัตว์ที่ ขากะเผลก หรือ ตาบอด หรือเป็นโรค หูแหว่ง จึงใช้ทำอุดฮียะห์ไม่ได้
เวลาเชือดอุดฮียะห์ :
เวลา
เชือดอุดฮียะห์ เริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้นในวันอีดิ้ลอัฎฮา และผ่านไปช่วงหนึ่งที่พอจะละหมาดสองรอกาอัตและสองคุตบะห์ได้
เวลาการเชือดอุดฮียะห์นี้จะยังคงอยู่เรื่อยไปจนถึงตะวันตกในวันสุดท้ายของวัน
ตัชรีก วันตัชรีกคือวันที่สิบเอ็ด สิบสอง และสิบสามของเดือนซุ้ลฮิจยะห์
เวลาที่ดีเลิศสำหรับการเชือดอุดฮียะห์คือภายหลังละหมาดอีด
จะปฏิบัติอย่างไรกับอุดฮียะห์ ภายหลังจากเชือดแล้ว :
ถ้าหากอุดฮียะห์นั้นเป็นวาญิบ
: โดยการบนบาน (นะซัร) ไว้ หรือโดยการระบุแน่นอนว่าสัตว์ตัวนี้จะทำอุดฮียะห์
จะไม่อนุญาตให้ผู้ทำอุดฮียะห์
และคนใดในครอบครัวของเขาที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้
รับประทานอุดฮียะห์นั้น ถ้าหากผู้ใดรับประทานส่วนหนึ่งของอุดฮียะห์
ก็จะต้องถูกปรับเท่ากับที่รับประทานไปหรือถูกปรับเป็นราคา
และถ้าหากเป็นอุดฮียะห์ที่สุนัต
ก็อนุญาตให้รับประทานได้ตามแต่เขาต้องการ โดยจะต้องบริจาคส่วนที่เหลือทั้งหมด
และยอมอนุญาตให้เขารับประทานได้หนึ่งในสามของอุดฮียะห์ และบริจาคหนึ่งในสามให้แก่คนยากจน
และอีกหนึ่งในสามมอบเป็นของขวัญ (ฮะดียะห์) แก่เพื่อน ๆ
และเพื่อนบ้านแม้จะเป็นคนรวยก็ตาม
แต่สิ่งที่ให้คนรวยนั้นเป็นของขวัญมีจุดมุ่งหมายที่การรับประทานเท่านั้น
ไม่ยินยอมให้พวกเขานำไปขายแลกเปลี่ยน ส่วนสิ่งที่ให้แก่คนอยากจนนั้นเป็นการให้ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์
ซึ่งคนจนอาจใช้รับประทานหรือนำไปจับจ่ายตามความต้องการ
และยินยอมให้ผู้ทำอุดฮียะห์
บริจาคหนังสัตว์ของตนได้
หรือเอาไว้ใช้ประโยชน์เองก็ได้แต่ไม่ยินยอมให้ขายหนังสัตว์อุดฮียะห์หรือให้แก่ผู้เชือดสัตว์เป็นค่าจ้างในการเชือดของเขา
เพราะการดังกล่าวนั้นเป็นการทำให้อุดฮียะห์ลดหย่อน
ซึ่งทำให้อุดฮียะห์มีผลใช้ไม่ได้
สุนัตและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอุดฮียะห์ :
หนึ่ง : เมื่อเข้าสู่ช่วงสิบวันแรกของเดือนซุ้ลฮิจยะห์
และมีผู้ที่ตั้งใจในช่วงเวลาดังกล่าวว่าจะทำอุดฮียะห์
สุนัตให้เขาปล่อยผมและเล็บไว้จนกว่าจะเชือดอุดฮียะห์ เพราะฮะดีษที่มุสลิม(1977) ได้รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า :
إِذاَ رَأَيْتُمْ هِلاَلَ
ذِي الحَجَّةِ وَأَراَدَ أَحَدُكُمْ أَنْ يُضَحِّيَ فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ
وَأَظَافِرِهِ
สอง : สุนัตให้เชือดอุดฮียะห์ด้วยตนเอง
และถ้าหากมีอุปสรรไม่สามารถกระทำเองได้ ก็ให้มาดูการเชือดอุดฮียะห์ด้วย เพราะฮะดีษที่ฮากิม (4/222) ได้รายงานด้วยสายรายงานที่ซอเฮียะห์ว่า
ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวแก่ฟาติมะห์ (ร.ด.) ว่า :
"จากอิบนุอุมัร
(ร.ด.) ได้กล่าวว่า : "ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้เชือดสัตว์ ณ
สถานที่ละหมาด"
قُوْمِيْ
إِلَيْ أُضْحِيَتِكِ فَاشْهَدِيْهَا فَإِنَّهُ بِأَوَّلِ قِطْرَةِ مَنْ دَمِهَا
يُغْفَرُ لَكِ مَا سَلَفَ مِنْ ذُنُوْبِكِ قَالَتْ : يَا رَسُوْلَ اللهِ ، هَذَا
لَنَا أَهْلُ البَيْتِ خَاصَّةً ، أَوْ لَنَا ولِلمُسْلِمِيْنَ عَامَّةً ؟ قَالَ
بَلْ لَناَ وَلِلمُسْلِمِيْنَ عَامَّةً
"เธอจงลุกขึ้นไปที่อุดฮียะห์ของเธอและดูมัน
เพราะด้วยเหลือดหยดแรกของมัน เธอจะได้รับการอภัยโทษจากบาปต่าง
ๆ ของเธอที่ล่วงมาแล้ว ฟาติมะห์ได้ถามว่า :
โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.)
ที่ท่านกล่าวนี้เฉพาะพวกเราที่เป็นคนในครอบครัวของท่าน (อะห์ลุลลัยต์)
เท่านั้นหรือสำหรับพวกเราและมวลมุสลิมโดยทั่วไป? ท่านตอบว่า
: แต่มันสำหรับพวกเราและมวลมุสลิมโดยทั่วไป"
และสุนัตให้ผู้นำเชือดอุดฮียะห์ ณ
สถานที่ละหมาดซึ่งเป็นสถานที่ประชาชนได้มาชุมนุมกันเพื่อละหมาดอีด และสุนัตให้เชือดด้วยตนเอง บุคอรีได้รายงานในหนังสือซอเฮียะห์ของเขา (5232)
عَنْ
إِبْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّي اللهُ
عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَذْبَحُ وَيَنْحَرُ بِالْمُصَلَّي
อากีเกาะฮ์ คือ
สิ่งที่จะถูกนำมาเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด
โดยจะเชือดให้กับเด็กผู้ชายคือแกะ 2 ตัว
และให้กับเด็กผู้หญิงคือแกะ 1 ตัว
อากีเกาะฮ์ตามหลักภาษา คือชื่อของเส้นผมที่อยู่บนหัวของเด็กแรกเกิด
อากีเกาะฮ์ตามหลักนิติบัญญัติ
คือ ชื่อของสิ่งที่จะถูกเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด
ซึ่งเป็นวันที่มีการโกนผมไฟ
การเชือดอะกีเกาะฮฺให้แก่เด็กที่คลอดออกมาในวันที่
7 นับตั้งแต่การคลอดเป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ
(กิตาบอัล-มัจญ์มูอฺ ชัรฺหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวียฺ 8/409)
โดยมีสุนนะฮฺสำหรับพ่อของเด็กให้ใช้ทรัพย์ของตนซื้อหาสัตว์ที่ใช้ได้ในการทำกุรบ่าน
(อุฎหิยะฮฺ) มาเชือดเป็นอะกีเกาะฮฺให้แก่เด็กที่คลอดนั้น และไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
(คือการเชือดอะกีเกาะฮฺนั้นไม่ใช่วาญิบ) ตามทัศนะของปวงปราชญ์ (ญุมฮูร
อัล-อุละมาอฺ) ส่วนมัซฮับอัล-หะนะฟียฺนั้นถือว่าการเชือดอะกีเกาะฮฺเป็นสิ่งที่อนุญาตแต่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกส่งเสริมให้กระทำ
หลักฐานในการทำอากีเกาะฮ์
อากีเกาะฮ์เป็นซุนนะฮ์ ซึ่งได้มีรายงานจากพระนางอาอีชะฮ์
และฮาดิษ จากท่านอื่นๆ เช่น
ฮาดิษของท่านสัมเราะฮ์
ได้กล่าวว่า
قال رسول الله - صلى الله
عليه وسلم - (( الغُلاَمُ مُرْتَهَنٌ بِعَقِيْقَتِهِ يُذْبَحُ عَنْه فِي اليَوْمِ
السَّابِعِ ، وَيُحْلَقُ رَأْسُهُ وَيُسَمَّى )) رواه الإمام أحمد والترميذي وصححه
الحاكم وصحح إسناده.
ความว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ
ได้กล่าวว่า
“เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะห์ของเขา
ซึ่งอากีเกาะห์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะถูกโกนผมไฟ
และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น)”
อากีเกาะฮ์จะเชือดให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ
2
ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงแกะ 1 ตัว
ดังที่มีรายงานจากอุมมู่กัรซฺ ว่า
أن النبي - صلى الله عليه
وسلم - قال (( عَنِ الغُلاَمِ شَاتَانِ وعَنِ الجَارِيةِ شَاةٌ )) أخرجه أبو داود.
ความว่า: แท้จริงท่านนะบี
ได้กล่าวว่า
“จะแทนเด็กผู้ชาย 2 ตัวแกะ และจะแทนเด็กผู้หญิง 1
ตัวแกะ”
และได้มีฮาดิษ จากพระนางอาอีชะฮ์ว่า
((
أَمَرَنَا رَسُولُ الله - صلى الله عليه وسلم – أنْ
نَعُقَّ عَنِ الغُلامِ بِشَاتَيْنِ وَعَنِ الجَارِيةِ بِشَاةٍ )) رواه الترميذي
وابن ماجه وابن حبان في صحيحه.
ความว่า: “ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้สั่งใช้เราให้ทำอากีเกาะห์ให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ
2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงด้วยกับแกะ 1 ตัว”
ในวันที่เด็กเกิดจะถูกนับไป
7
วัน ซึ่งวันนั้นจะถูกนับตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก
หากว่าเด็กเกิดหลังจากพระอาทิตย์ตกไปแล้วให้เริ่มนับวันถัดไป
ท่านรอฟีอีและคนอื่นๆได้กล่าวเสริมว่า “ไม่ควรเกิน 7
วัน”
ขั้นตอนหลังจากให้กำเนิดบุตร
สิ่งที่ควรทำหลังจากให้กำเนิดบุตร
1. ให้แจ้งข่าวดี เพราะอัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
أَنَّ اللَّهَ
يُبَشِّرُكَ بِيَحْيَى
ความว่า: “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแจ้งข่าวดีให้กับท่านด้วยกับยะห์ยา”
2. ให้อาซานใส่หูขวา และอิกอมะฮ์ใส่หูซ้ายเด็ก
ได้มีฮาดิษของท่านอบีรอเฟียะอฺว่า
“แท้จริงฉันเห็นท่านศาสดาอาซานละหมาดใส่หูท่านฮาซัน อิบนุ อาลี
ในขณะที่พระนางฟาติมะห์ให้กำเนิด”
และมีสุนัตให้อ่านอัลกุรอานบทอาละอิมรอนโองการที่
36
ว่า
وَإنِّى أُعِيْذُها بِكَ وَذُرِّيَّتَهَا مِنَ
الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ
3. ให้ป้ายเพดานปากด้วยกับอินทผลัม
ได้มีฮาดิษของท่านอบีมูซาว่า
“ลูกชายของฉันได้ถูกให้กำเนิด แล้วฉันก็ได้นำตัวไปหาท่านนะบี
แล้วท่านได้ตั้งชื่อให้ว่า
อิบรอฮีม และได้ป้ายเพดานปากด้วยกับอินทผลัม”
สิ่งที่ควรทำในวันที่
7
หลังคลอดบุตร
1. โกนผมไฟ
โกนผมไฟ
และให้บริจาคเป็นเงินเท่ากับน้ำหนักของเส้นผมที่โกน
ศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวกับพระนางฟาติมะห์เมื่อคลอดท่านฮาซันว่า
“จงโกนผมฮาซันและจงจ่ายซอดาเกาะฮ์ เท่ากับน้ำหนักของเส้นผมเป็นเงินให้กับคนยากจน”
“จงโกนผมฮาซันและจงจ่ายซอดาเกาะฮ์ เท่ากับน้ำหนักของเส้นผมเป็นเงินให้กับคนยากจน”
2. ตั้งชื่อเด็ก
โดยอนุญาตให้ตั้งชื่อได้ในวันที่
1
หรือวันที่ 3 จนวันที่ 7 ซึ่งเป็นวันทำอากีเกาะฮ์
ท่านนะบีได้กล่าวว่า “ในคืนนั้นลูกของฉันถูกให้กำเนิด
แล้วฉันก็เรียกชื่อเขาว่า อิบรอฮีม”
3. ทำการขลิบอวัยวะเพศ
ซึ่งเวลาของการขลิบ
บางทรรศนะได้กล่าวว่า จะต้องอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกจากการเกิด บางทรรศนะกล่าวว่า
ให้ขลิบก่อนบรรลุนิติภาวะ และที่ถูกต้องและประเสริฐที่สุด คือ วันที่ 7 หลังจากถูกให้กำเนิด
ได้มีฮาดิษของท่านญาบีรว่า
“ท่านศาสดามูฮัมมัดได้ทำอากีเกาะฮ์
ในกับท่านฮาซันและฮูเซ็น และได้ทำการขลิบอวัยวะเพศของทั้งสองในวันที่ 7”
แน่นอนการขลิบสำหรับผู้ชายถือว่าเป็นวายิบ
สำหรับผู้หญิงคือสุนัต
ลักษณะของแกะที่จะนำมาทำอากีเกาะฮ์
ต้องครบ 1
ปีเต็ม และจะต้องไม่มีตำหนิ
และสามารถที่จะนำเอาอูฐหรือวัวมาทำอากีเกาะฮ์ได้
ให้ทำการกล่าว “باسم الله ، اللهم منك وإليك عقيقة فلان” ขณะเชือด และให้เชือดขณะพระอาทิตย์ขึ้น ท่านอิหม่ามนาวาวีย์ได้ให้น้ำหนักว่า
ควรที่จะเชือดอากีเกาะห์หลังจากโกนผมไฟ
เพราะได้ปฏิบัติตามการกล่าวอย่างเป็นลำดับของฮาดิษที่ว่า
“เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะฮ์ของเขา
ซึ่งอากีเกาะฮ์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด)
และเด็กจะถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น)”
ให้ฟันเนื้ออากีเกาะฮ์โดยไม่ให้กระดูกแตก
เพื่อเป็นการทำให้เกิดลางดีด้วยกับการมีอวัยวะที่สมบูรณ์และปราศจากข้อตำหนิของเด็ก
(อ้างอิงหนังสือ: อัลวาซีต ฟีลมัซฮับ เล่มที่ 7 หน้าที่152-153
หนังสือ ตั้วะฟะตุ้ลอะวัซย์)
ท่านอิบนุ
อัซซิบาฆได้กล่าวว่า หากว่ากระดูกแตก ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามแต่อย่างได้
(เพราะการถือลางดีนั้นท่านนบีสนับสนุน แต่การถือลางร้ายนั้นท่านนบีห้ามเด็ดขาด) ให้นำเนื้ออากีเกาะฮ์
มาทำเป็นอาหารและนำไปแจกจ่ายให้กับคนยากจน
อัสลามมุอาลัยกุมคับถ้าหากเชือดสัตว์ทำอากีเกาะห.วันนี้แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นกินพรุ่งนี้ได้หรือไม่
ตอบลบหมายถึงเชือดวันที่ 7 แล้วรับประทานในวันที่ 8 หรือเปล่าครับ
ลบ